พลวัตวัฒนธรรมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผาแบบดั้งเดิม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านสันทราย ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ประวัติความเป็นมา, จัดระบบความรู้, การส่งเสริมภูมิปัญญาบทคัดย่อ
การงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาในการผลิตเครื่องปั้นดินเผาแบบดั้งเดิมของชุมชน 2) เพื่อรวบรวมและจัดระบบความรู้การผลิตเครื่องปั้นดินเผาแบบดั้งเดิมของชุมชน และ 3) เพื่อหาแนวทางส่งเสริมภูมิปัญญาของการผลิตเครื่องปั้นดินเผาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ ตัวแทนกลุ่มผู้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาในชุมชนบ้านสันทราย ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 11 คน สำหรับเครื่องมือการวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) โดยใช้การบรรยายและพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประวัติความเป็นมาของการผลิตเครื่องปั้นดินเผาของชุมชนบ้านสันทราย
ภูมิปัญญาการผลิตเครื่องปั้นดินเผามีความเป็นมาอย่างยาวนานตั้งแต่ พ.ศ. 2440 โดยสืบทอดมาจากชุมชนบ้านหารแก้ว และชุมชนบ้านวัวลาย นับจากอดีตจนปัจจุบัน จากรุ่นสู่รุ่น 2) การรวบรวมและจัดระบบความรู้การผลิตเครื่องปั้นดินเผามีขั้นตอนวิธีการการผลิตเครื่องปั้นดินเผายังคงยึดถือวิธีการผลิตแบบดั้งเดิม โดยมีการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยโลกาภิวัฒน์ด้วยการนำเทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรงเข้ามาช่วยในการผลิต และ 3) แนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาของการผลิตเครื่องปั้นดินเผาของชุมชนมาจากการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ การกระจายข่าวสาร เพื่อประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อให้บุคคลที่สนใจเข้ามาเรียนรู้ จึงเป็นอีกลักษณะหนึ่งที่สามารถส่งเสริมอนุรักษ์ภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผาแบบดั้งเดิมของชุมชนบ้านสันทราย ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ด้านการตลาดและการส่งออกของผลิตภัณฑ์ให้
References
กนิษฐา เรืองวรรณศักดิ์. (2557). ลวดลายประทับดินเผาบ้านเชียงบูรณาการสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงพาณิช. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(2), 1-25.
กิตติยา ฤทธิ์ภักดี และวรวิท มาศแก้ว. (2566) แนวทางการส่งเสริมการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาการแกะรูปหนังตะลุงในตำบล ควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14. (725–740).
ขันแก้ว สมบูรณ์. (2559). การศึกษาความพึงพอใจการให้บริการวิชาการโครงการอบรมกระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาของสาขาเซรามิกส์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. (รายงานการวิจัย). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
เดโช แขน้ำแก้ว, จิตติมา ดำรงวัฒนะ และธีรวุฒิ สุวรรณวงศ์. (2559). ศึกษาภูมิปัญญาการทำเครื่องปั้นดินเผา : กรณีศึกษากลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง หมู่ที่ 6 ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสังคมมนุษย์, 6(1), 56–71.
บุญชุบ บุญสุข. (2555). การพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาในวิถีชุมชุมชนจังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
เพิ่มภูมวิทย์ หวานเสียง. (2553). กระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาในตำบลป่างิ้ว อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภควดี โอสถาพร. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกต้นแบบที่มีแนวคิดตั้งอยู่บนวิถีและอัตลักษณ์ของชุมชนหมู่บ้านอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
วัชระ วชิรภัทรกุล. (2559). การพัฒนารูปแบบผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่เหมาะสมกับชุมชนเลี้ยงช้าง บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. (รายงานการวิจัย). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
วิมล ทองดอนกลิ้ง. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาในท้องถิ่นให้มีเอกลักษณ์และสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษากลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา “บางแก้วเซรามิค” ตำบลปลักแรด อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. (รายงานการวิจัย). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.
สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, (2564). กิจกรรมการศึกษาแนวทางการเพิ่มศักยภาพศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทย ด้านเกษตรกรรม ในการอนุรักษ์สืบสานทรัพยากรพื้นถิ่นอย่างยั่งยืน. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สืบศักดิ์ สิริมงคลกาล, สาธิต ทิมวัฒนบรรเทิง, วิรุณ ตั้งเจริญ และพฤทธิ์ ศุปเศรษฐศิริ (2562). การพัฒนาระบบและกลไกการดำรงอยู่ของเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 19(2), 133–150.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารข่วงผญา” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ