การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล

Main Article Content

พระครูสุชัยพัชรมงคล (วิษณุ ตปสมฺปนฺโน)

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าการบริหารงานทั้งภาครัฐและเอกชนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก  ต้องทันต่อเหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลง  โดยการนำหลักธรรมาภิบาลมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานของภาครัฐ  ซึ่งการใช้หลักธรรมาภิบาลจะทำให้หน่วยงานของรัฐ  มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  อีกทั้งยังเป็นกลไกในการติดตามประเมินผลและตรวจสอบการบริหารงาน  เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่การบริหาร  เป็นการสร้างสำนึกที่ดีในการบริหารงาน และการทำงานในองค์การ และจัดระบบที่สนับสนุนให้มีการปฏิบัติตามสำนึกที่ดี ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่สิ้นเปลือง การติดตามการทุจริต ความโปร่งใส ตรวจสอบได้  โดยคำนึงถึง    ผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะได้รับผลกระทบ เนื่องจากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานในหน่วยงาน   ของรัฐนั้น จะเกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง

Article Details

บท
Academic Article

References

ชัยอนันต์ สมุทวิณช. ศ.ดร.. การปฏิรูปการศึกษาการปฏิรูปการเมือง. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๑.
ถวิลวดี บุรีกุล. “ธรรมาภิบาล: หลักการเพื่อการบริหารรัฐกิจแนวใหม่”. วารสารสถาบันพระปกเกล้า. ปี ๒๕๔๖.
ติน ปรัชญพฤทธิ์. ศัพท์รัฐประศาสนศาสตร์ กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๒๕๓๕
ธีรยุทธ บุญมี. ธรรมรัฐแห่งชาติยุทธศาสตร์กู้หายนะประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ สายธาร, ๒๕๔๑.
ไพบูลย์ ช่างเรียน. วัฒนธรรมการบริหาร กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์, ๒๕๓๒.
บุญทัน ดอกไธสง. การจัดองค์การ .พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๗.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. ธรรมรัฐ ธรรมราชา. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๒.
ปรัชญา เวสารัชช์. “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของสมาชิกสภาองค์การบริหาร ส่วนตำบลในการพัฒนาหมู่บ้าน: ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น”. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๓.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. แผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ. กรุงเทพมหานคร: กองกลาง สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, ๒๕๔๔.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.). คู่มือการจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance Rating).
สมพงศ์ เกษมสิน. การบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เกษมสุวรรณ. ๒๕๑๔.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ - พ.ศ.๒๕๕๕. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.opdc.go.th/uploads/files/strategies_
new.pdf ‎[๑๗ ก.พ. ๕๗].
พฤทธิสาณ ชุมพล. คำและความคิดในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย (Concept in Contemporary Political Science). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖.
ราชประชาสมาสัย. สถาบัน. ธรรมาภิบาลบันดาลสุข. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข, ๒๕๔๙.
อรพิณท์ สพโชคชัย. “สังคมเสถียรภาพและกลไกประชารัฐที่ดี”. รายงานทีดีอาร์ไอ. ฉบับที่ ๒๐ มกราคม ,๒๕๔๑.
อานันท์ ปันยารชุน.ธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการที่ดีในมหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๒.
อนันต์ เกตุวงศ์. การบริหารการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ๒๕๒๓.