ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อปรับใช้ในการให้บริการ งานแพทย์แผนไทยของโรงพยาบาลศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการให้บริการงานแพทย์แผนไทยของโรงพยาบาลศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ 2. เพื่อศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนากับการให้บริการงานแพทย์แผนไทยของโรงพยาบาลศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ 3. เพื่อศึกษาการบูรณาการหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการให้บริการงานแพทย์แผนไทยของโรงพยาบาลศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เอกสารประกอบข้อมูลความคิดเห็นจากการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 รูป/คน นำเสนอผลการศึกษาโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า 1) โรงพยาบาลศรีสะเกษจังหวัดศรีสะเกษ มีการให้บริการแพทย์แผนไทย โดยเป็นการส่งเสริมภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยให้เป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพของประชาชนครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน คือ การบำบัดรักษาโรค การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ และการฟื้นฟูสภาพ เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่มีแนวโน้มสูงขึ้นจากระบบการแพทย์แผนปัจจุบัน 2) หลักพุทธธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้โดยยึดหลักวิธีการข้อปฏิบัติอันเป็นคุณสมบัติที่เกื้อหนุนการปฏิบัติในการให้บริการงานแพทย์แผนไทย ได้แก่ โยนิโสมนสิการ พรหมวิหารธรรม สังคหวัตถุธรรม อิทธิบาทธรรม และเบญจศีล-เบญจธรรม 3) การ บูรณาการหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการให้บริการงานแพทย์แผนไทย โดยนำหลักธรรมดังกล่าวไปเพิ่มเติมส่งเสริมในการปฏิบัติเกี่ยวกับการให้บริการแพทย์แผนไทย ให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คือ (1) โยนิโสมนสิการ ให้การตรวจรักษา วินิจฉัย การใช้ยา โดยพินิจวิเคราะห์ด้วยเหตุผล ใช้องค์ความรู้อย่างรอบคอบ (2) พรหมวิหารธรรม ให้การดูแลรักษาด้วยใจเมตตาที่เต็มเปี่ยม (3) สังคหวัตถุธรรม สร้างความไว้วางใจ ความมั่นใจในคุณภาพ (4) อิทธิบาทธรรม ตั้งใจรักษาอย่างเต็มความรู้ความสามารถ และ (5) เบญจศีล-เบญจธรรม เป็นเกราะป้องกันความประพฤติเสียหาย เป็นต้น
Article Details
References
นารินทร์ โคตรศรีกุล. “ความพึงพอใจในการเข้ารับบริการในกลุ่มงานแพทย์แผนไทย : กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลหนองหว้า อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2554.
ปัณณวัชญ์ ชูพันธ์นิส. “การศึกษาวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ในการแพทย์แผนไทย”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2555.
พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะ. อนุทินธรรมะ : ธรรมะสำหรับ 365 วัน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมมิก จำกัด, 2539.
เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. ประวัติ วิวัฒนาการและการประยุกต์ใช้การแพทย์แผนไทย. กรุงเทพมหานคร: สามเจริญพาณิชย์, 2550.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
วรฤทัย บุญคงชล. “ประสิทธิภาพการให้บริการชุมชนตามหลักอิทธิบาท 4 ของสำนักงานเขตบางซื่อกรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556.
อัจฉรา เชียงทอง และคณะ. “คุณภาพและการเข้าถึงบริการของโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย”. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน, 2560): 208.