ศึกษาการดำเนินชีวิตด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทาง พระพุทธศาสนาของชุมชนซำตารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางพระพุทธศาสนา (2) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตของชุมชนบ้านซำตารมย์ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (3) เพื่อวิเคราะห์การดำเนินชีวิตด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางพระพุทธศาสนาของ บ้านซำตารมย์ ตำบลตระกาจ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ปรัชญเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 9 ที่พระองค์ทรงคิดค้นขึ้นด้วยสติปัญญาความเฉลียวฉลาด จนกลายเป็นแนวทางทฤษฎี เพื่อหาทางออกด้านเศรษฐกิจให้กับประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชุมชน ระดับสังคม และระดับประเทศชาติ โดยส่วนรวมเพื่อให้ประชาชนและประเทศดำเนินไปได้ ให้เกิดความเข้มแข็ง มั่นคงยั่งยืน และรุ่งเรืองเจริญก้าวหน้าเท่าเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ตามวิถีของคนไทยและคนส่วนมาก 90 เปอร์เซ็นต์ เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาสามารถประยุกต์ใช้กับศาสตร์สมัยใหม่ได้ทุกศาสตร์ทุกอาชีพทุกวรรณะทุกเพศ โดยสอนประชาชนคนทั่วไปให้ดำเนินชีวิต ตั้งอยู่บนพื้นฐานของศีลธรรม และประกอบสัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีวิตชอบ และสอนบรรพชิตให้ประพฤติปฏิบัติตามคำสั่งสอน หากวาสนาบารมีแก้กล้าไม่ว่าจะเป็นวรรณะใด เพศใด ย่อมเข้าถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนามีปัญญาดับกิเลส เข้าใจกฎของธรรมชาติตามความเป็นจริงว่า สรรพสิ่งล้วนไม่เที่ยง มีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปเป็นธรรมดา จึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเราและของ ๆ เรา หลุดพ้นจากจากความทุกข์ถึงเป้าหมายของพระพุทธศาสนา ดังนั้น หากนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและพระพุทธศาสนา มาเป็นแนวทางดำเนินชีวิตในทางสายกลาง ในครอบครัวและชุมชน ย่อมสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ พึ่งพาตนเองได้ พออยู่พอกินพอใช้ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความสามัคคี ย่อมจะได้รับความสุขด้วยกันทุกคน
Article Details
References
พระสูตร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ
ไทย จำกัด.
เกษม ประอาง และคณะ. (2560). “การศึกษาพฤติกรรมและแรงจูงใจในการดำเนินชีวิตตามหลัก
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนในจังหวัดศรีสะเกษ”. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัย
พุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ขนิฏฐา กาญจนรังษีนนท์ และคณ. (2554). “โครงการวิจัยประโยชน์สุขจากเศรษฐกิจพอเพียง” รายงานการวิจัย. กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย”.
ณัฏฐ์ฎาพร แสงสุวรรณ. (2555) “ความสำเร็จในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในจังหวัดเชียงใหม่”. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระพรสวรรค์ ฐิติญาโณ.ดร. และคณะ. (2560) “การเสริมสร้างความมั่นคงในการดำเนินชีวิตของเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดศรีสะเกษ”. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสุทัศน์ กตสาโร (ประทุมแก้ว). (2557) “ศึกษารูปแบบการปฏิบัติธุดงควัตรในสังคมไทย”. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2550) เศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงชีวิต. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.
สุเมธ ตันติเวชกุล. (2550) ใต้เบื้องพระยุคลบาท. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน.
สุวกิจ ศรีปัดถา. (2549) “การประยุกต์หลักการจัดการธุรกิจตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงกับวิสาหกิจชุมชน”. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์. คณะวิทยาการจัดการ: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.