คำสอนทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในประเพณีบุญสารทเขมร : กรณีศึกษาตำบลพิงพวย อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

พระมหาจำลอง ธมฺมปาโล (ทองบาง)
พระพรสวรรค์ ฐิติญาโณ (ใจตรง)
พระมหาขุนทอง เขมสิริ
พรทิพย์ เกิดถาวร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา รูปแบบพิธีกรรมของประเพณีบุญสารทเขมร 2) เพื่อศึกษาคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในประเพณีบุญสารทเขมร                     ตำบลพิงพวย อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ 3) เพื่อศึกษาคุณค่าของประเพณีบุญสารทเขมรที่มีต่อคุณภาพชีวิตของชุมชนตำบลพิงพวย อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบการเขียนพรรณนาบรรยาย พร้อมเสนอแนวคิดของผู้วิจัย โดยมุ่งตอบตามวัตถุประสงค์และปัญหาที่ต้องการทราบ จากการศึกษาพบว่า ประเพณีบุญสารทเดือนสิบของชาวไทยเชื้อสายเขมรในจังหวัด               ศรีสะเกษ มีการปฏิบัติสืบทอดกันมาจวบจนถึงปัจจุบันนี้ด้วยสาเหตุหลักๆ คือ ได้รับอิทธิพลจากคติความเชื่อเรื่องการบูชาบรรพบุรุษ และการบูชาเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์ ความเชื่อเรื่องการบูชาตามคติทางพระพุทธศาสนา และได้รับคติความเชื่อโบราณที่เกี่ยวกับอำนาจลี้ลับ การให้คุณให้โทษของผีบรรพบุรุษ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอยู่ในชุมชน เพราะชาวไทยเชื้อสายเขมรเชื่อว่า เมื่อถึงช่วงเทศกาลสารทเดือนสิบ ประตูยมโลกจะเปิด เปรตจะเดินทางมาเยี่ยมญาติ เพื่อขอส่วนบุญจากญาติพี่น้องของตน ชาวไทยเขมรจึงต้องมีการจัดทำอาหาร ขนมข้าวต้ม เพื่อต้อนรับผีบรรพบุรุษเหล่านั้น เมื่อถึงรุ่งเช้าของวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ก็จะนำอาหารขนมข้าวต้มไปถวายพระสงฆ์ที่วัด เพื่ออุทิศส่วนบุญให้ผีบรรพบุรุษของตน พิธีกรรมดังกล่าวเรียกว่า “การทำบุญวันสารทเล็ก” และเชื่ออีกว่า ผีบรรพบุรุษจะออกมาจากยมโลกได้ 15 วัน หลังจากนั้น ต้องกลับไปรับกรรมในยมโลกตามเดิม

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พระพรสวรรค์ ฐิติญาโณ (ใจตรง), คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ประเทศไทย

วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ประเทศไทย

Sisaket Buddhist College, Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Thailand

พระมหาขุนทอง เขมสิริ , วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ประเทศไทย

วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ประเทศไทย

Sisaket Buddhist College, Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Thailand

พรทิพย์ เกิดถาวร, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, ประเทศไทย

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, ประเทศไทย

Chaiyaphum Rajabhat University, Thailand.      

References

(1) หนังสือทั่วไป
ปรีชา นุ่นสุข. (2523). สารทเดือนสิบมรดกทักษิณ. อนุสาร อ.ส.ท, ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 (กันยายน).
แปลก สนธิรักษ์. (2504). พิธีกรรมและลัทธิประเพณี. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
มงกุฎ แก่นเดียว. (2533). แซมซายฉบับพิเศษ, สุรินทร์: คณะกรรมการศาสนาเพื่อการพัฒนาสุรินทร์.
มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ. (2531). พจนานุกรมบาลี-ไทย-อังกฤษ ฉบับภูมิพโลภิกขุ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
ภูมิพโลภิกขุ.
(2) งานวิจัย/วิทยานิพนธ์
พระครูศรีสุตโสภณ (เงิน ชาตเมธี). (2549). “ความกตัญญูกตเวทีในฐานะคุณธรรมค้ำจุนสังคมจากมุมมอง
พระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา.
บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระจักรพงศ์ จกฺกวํโส (สียา). (2560).“วิเคราะห์คติธรรมจากประเพณีสารทเดือนสิบของชาวไทยเชื้อสาย
เขมรในตำบลสระเยาว์ อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาพระพุทธศาสนา.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย.
พระมหาสุพจน์ คําน้อย. (2547). “การศึกษาวิเคราะห์คำสอนเรื่องการอุทิศส่วนบุญในพระพุทธศาสนา
เถรวาท. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุรชัย รัตนพนาวงษ์. (2549). “การศึกษาคำศัพท์ภาษาเขมรสุรินทร์ในประเพณีแซนโฎนตา”. วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเขมรศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.