คติธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในการประกอบพิธีกรรม “แกลสะเอง” อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเชื่อที่ปรากฏในการประกอบพิธีกรรม “แกลสะเอง” อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านสังคมที่มีความสัมพันธ์ต่อการประกอบพิธีกรรม “แกลสะเอง” อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ จำนวน 24 คน/รูป ในการวิจัยครั้งนี้จึงสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อของชุมชนด้านการประกอบพิธีกรรม “แกลสะเอง” อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ จากปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้นำท้องถิ่นและสมาชิกภายในครอบครัว เพื่อใช้สืบทอดประเพณีความสำคัญ และคุณค่าทางสังคมและทางจิตใจที่มีในวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนนั้น ๆ เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวศรีสะเกษที่มีเชื้อสายกูย (เยอ) มาจากความเชื่อในการ พึ่งพาสิ่งลี้ลับของธรรมชาติในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะวิญญาณของบรรพบุรุษ เทวดาที่อยู่บนฟ้าเพื่อขอพร สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้ดวงวิญญาณบรรพบุรุษมาปกปักรักษา ผ่านร่างทรงของแม่สะเองหรือการแก้บนที่ทำไว้เมื่อยามเจ็บไข้ได้ป่วย หรือเมื่อมีเหตุสำคัญ ที่ต้องอาศัยกำลังใจจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พิธีกรรมนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสมัครสมานสามัคคีของชาวบ้าน ปลูกฝังคุณธรรม ให้ลูกหลานรู้จักเคารพผู้หลักผู้ใหญ่ ปฏิบัติตามประเพณีที่ดีงามต่อไป
Article Details
References
จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2540). บ่อเกิดลัทธิประเพณีอินเดียเล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยาสถาน.
บำรุง บุญปัญญา. แนวคิดวัฒนธรรมชุมชน. โครงการหนังสือดอดติ้วปา: สุรินทร.
เบญจรัตน์ เมืองไทย. (2543). “พิธีทรงเจ้า : พิธีกรรมกับโครงสร้างสังคมที่บ้านหนองขาว”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มณี พะยอมยงค์. (2536). ความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสถียร โกเศศ. (2542). วัฒนธรรมเบื้องตน. ราชบัณฑิตยสถาน.
อมรา พงศาพิชญ์. (2537). การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อพัฒนางาน. ขอนแก่น: สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เอี่ยม ฉายางาม. (2532). "ความเชื่อกับศาสนา"” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาสังคมและวัฒนธรรมไทยหน่วยที่ 1-7 เล่ม 1. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.