การศึกษาการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมด้วยพลังบวรของวัดจำปา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการรายงานผลการศึกษาวิทยานิพนธ์ “การศึกษาการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมด้วยพลังบวร ของวัดจำปา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ” โดยมีวัตถประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรม (2) เพื่อศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมด้วยพลังบวร (3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมด้วยพลังบวรของวัดจำปา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์ การศึกษาพบว่า กระบวนการในการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมด้วยพลังบวรของวัดจำปา มีเป้าหมายที่สำคัญคือคนในชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข รู้จักดำเนินชีวิตด้วยความถูกต้อง โดยมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ รู้จักเรียนรู้และน้อมนำศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสืบสานวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม ซึ่งขั้นตอนการปฏิบัติการ เป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมด้วยพลังบวร บ้าน-วัด-โรงเรียน ซึ่งเป็น 3 องค์กรหลักในชุมชนเป็นกลไกในการพัฒนาและสร้างชุมชนให้เข้มแข็งโดยทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการพัฒนา ตัดสินใจ ร่วมแก้ปัญหาของชุมชนซึ่งต่างมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาให้เป็นชุมชนคุณธรรม โดยโรงเรียนมีบทบาทในการสร้างเยาวชนให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ขณะเดียวกันชุมชนก็มีบทบาทและความสำคัญต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน ทั้งในแง่ของการเป็นแหล่งเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยมของสังคม และวัดก็มีบทบาทหน้าที่ที่จะให้การอบรมกล่อมเกลาสมาชิกในชุมชน ดังนั้น “บวร” คือ บ้าน-วัด-โรงเรียนจึงเป็นองค์กรในพื้นที่ ที่มีความสำคัญที่ได้ร่วมพัฒนาคนไทยสืบทอดมาอย่างยาวนาน
Article Details
References
ด้วยพลัง “บวร”. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
________. (2561). การดำเนินงานชมชนคุณธรรมขับเคลื่อนด้วยพลังบวร.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรไทย.
________. (2561). คู่มือการประเมินองค์กร ชุมชน อำเภอ และจังหวัดคุณธรรม. กรงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
________. (2562). คู่มือการส่งเสริมและพัฒนาองค์กร ชุมชน อำเภอ และจังหวัดคุณธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแหงประเทศไทย.
ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2543). “กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา”.
รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.).
พระพรสวรรค์ ฐิติญาโณ, ดร. และคณะ. (2560). “การเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิตของเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดศรีสะเกษ”. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศุภมาส เหล็นเรือง และคณะ. (2560). “ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน : กรณีศึกษา อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม”. รายงานการศึกษาเอกสารวิชาการ, สถาบันดำรงราชานุภาพ:กระทรวงมหาดไทย.
สุทัศน์ ประทุมแก้ว, ดร. และคณะ. (2562). “การพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งเสริมสัมมาชีพของหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในจังหวัดศรีสะเกษ”. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.