ศึกษาการพัฒนานิสิตเพื่อส่งไปปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ ของวิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ

Main Article Content

พระอธิการเจียมรัตน์ แสงพยัพ
พระมหาธงชัย ธรรมทวี
พระพรสวรรค์ ใจตรง
พระจรัญ สุวโจ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคของพระสงฆ์ไทยในการปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ 2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนานิสิตส่งไปปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนานิสิตเพื่อส่งไปปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศของวิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาและอุปสรรคของพระสงฆ์ไทยในการปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ คือ ภาษาในการสื่อสารกับคนต่างชาติ ปัจจัยในการดำเนินงานด้านเอกสารต่าง ๆ   ขาดความเข้าใจในขั้นตอนในการข้ามดินแดน การปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมที่ต่างภาษาและวัฒนธรรม รวมไปถึงปัญหาขั้นตอนของการส่งตัวจากทางมหาวิทยาลัยในการคัดเลือกนิสิต   มีความล่าช้า แนวทางในการจัดการปัญหา คือ ควรจัดให้มีการอบรมให้ความรู้ และจัดพิมพ์เอกสาร ข้อกำหนด กฎเกณฑ์ วิธีการดำเนินการต่าง ๆ ในเรื่องของการเดินทางไปต่างประเทศตั้งแต่เริ่มต้น  ควรจัดการอบรมให้ความรู้ โดยคณาจารย์ อาจารย์ และรุ่นพี่ที่ผ่านการปฏิบัติศาสนกิจมาก่อน               เพื่อเป็นแนวทางในการดำรงสมณะเพศในต่างประเทศ อบรมภาษาอังกฤษระยะสั้น เพื่อการสื่อสารในการปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิผล

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พระมหาธงชัย ธรรมทวี, วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ประเทศไทย

1-3วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ประเทศไทย

1-3Sisaket Buddhist College, Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Thailand

พระพรสวรรค์ ใจตรง, วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ประเทศไทย

1-3วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ประเทศไทย

1-3Sisaket Buddhist College, Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Thailand

พระจรัญ สุวโจ , มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน, ประเทศไทย

4มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

4Mahamakut Buddhist University Northeast campus

References

(1) ข้อมูลปฐมภูมิ
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
________. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
(2) ข้อมูลทุติยภูมิ
กรมการศาสนา. (2535). ระเบียบกองงานพระธรรมทูต. กรุงเทพมหานคร: สำนักเลขานุการ
วัดปากน้ำภาษีเจริญ.
ปภาวดี ประจักษ์ศุภนิมิต. (2546). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ใน
องค์การหน่วยที่ ๓. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ฝ่ายเผยแผ่พระพุทธศาสนา กองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2551). คู่มือ
พระธรรมทูต. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
พระครูวิเวกวราภรณ์ (ประสิทธิ์ ฐานวโร). (2555). “บทบาทของพระธรรมทูตที่มีต่อการเผยแผ่
พระพุทธศาสนาในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์”. วิทยานิพนธ์
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสิริธรรมวิสุทธิ์ (ทองสอน สิริธมฺโม). (2555). “การศึกษาแนวทางการพัฒนางานพระธรรมทูต
ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีการบริการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระปรีชา พงษ์พัฒนะ. (2544). “การติดตามและประเมินผลโครงการอบรมพระธรรมทูตสาย
ต่างประเทศ ศึกษาเฉพาะ: พระธรรมทูตไทยในสหรัฐอเมริกา”. วิทยานิพนธ์
สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมชาย สรรประเสริฐ. (2552). “กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกองบัญชาการตำรวจ
ท่องเที่ยวสำนักงานตำรวจแห่งชาติ”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขารัฐประศาสนศาตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2545). สมัยแรกพระพุทธศาสนาเป็นประธานของประเทศ
ในสุวรรณภูมิอยู่ที่นี่ ที่แผ่นดินสยาม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน.
สิริวัฒน์ คำวันสา. (2534). ประวัติพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ที่โรงพิมพ์
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุชาติ หงษา. (2549). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาจากอดีตถึงปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร:
ธรรมสภา.
อดุลย์ รัตตานนท์. “วัฒนธรรมแห่งชาติ”. (2528). ใน เอกสารประกอบการบรรยายฝึกอบรม
พระธรรมทูต ปี ๒๕๒๘ รุ่นที่ ๔. กรุงเทพมหานคร: กองงานพระธรรมทูต วัดจักรวรรดิ
ราชาวาส.