การบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในยุค 4.0

Main Article Content

สุบัณฑิต จันทร์สว่าง

บทคัดย่อ

การบริหารเป็นกระบวนการในการใช้ศาสตร์และศิลป์ โดยอาศัยความร่วมมือกันของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปดำเนินกิจกรรม ด้านการวางแผน การจัดองค์กร การจัดบุคคลเข้าทำงาน การสั่งการ และการควบคุมกำกับดูแล เพื่อให้การบริหารนั้นเป็นไปตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ซึ่งก็คือกระบวนการนำเอานโยบายไปตัดสินใจและปฏิบัติ สวนการบริหารรัฐกิจนั้น หมายถึงเกี่ยวข้องกับการนำเอานโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ และเป็นเรื่องของการนำเอากฎหมายและนโยบายต่างๆไปปฏิบัติให้เกิดผล ซึ่งเป็นหน้าที่ของราชการที่จะทำงานด้วยความเต็มใจด้วยความเที่ยงธรรมและอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ การใช้ศาสตร์ และศิลป์ นำเอาทรัพยากรบริหาร มาประกอบเป็นกระบวนการบริหารให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้มองเห็นลักษณะของการบริหารได้ดังนี้ การบริหารย่อมมีวัตถุประสงค์ การบริหารอาศัยปัจจัยบุคคลเป็นสำคัญ การบริหารต้องใช้ทรัพยากรการบริหารเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน การบริหารมีลักษณะการดำเนินการที่เป็นกระบวนการ การบริหารเป็นการดำเนินงานร่วมกันของกลุ่มคน การบริหารอาศัยความร่วมมือร่วมใจของบุคคล และของกลุ่มคน และการบริหารมีลักษณะเป็นการร่วมมือดำเนินการอย่างมีเหตุผล


           ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในองค์กรภาครัฐของประเทศไทยก็พยายามจะปฏิรูประบบราชการ โดยนำเอาแบบจำลองการจัดการภาครัฐแนวใหม่มาเป็นต้นแบบในการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากองค์การภาครัฐประสบปัญหาและอุปสรรคต่างๆ มากมาย เช่น ความไม่ร่วมมือของข้าราชการ การขาดประสิทธิภาพความไม่มั่นคงทางการเมือง เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทำให้แผนการต่างๆ ได้ศึกษาและวางไว้ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและชัดเจนทำให้การปฏิรูประบบราชการของประเทศไทยยังดูคลุมเครือและไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ จึงอาจกล่าวได้ว่า องค์กรที่ต้องการความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลง จำเป็นต้องมีการวางแผนที่ดีจากผู้บริหารโดยผู้บริหารต้องสร้างความเข้าใจถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงรวมถึงสร้างความเชื่อมั่นให้กับบุคลากรในองค์กรนอกจากนี้ ผู้บริหารยังต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล รวมทั้งมีความสามารถในการบริหารจัดการองค์การให้มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งจะตอบโจทย์การบริหารตามนโยบายที่รัฐบาลได้วางแนวทางไว้ ทั้งด้านการนำทรัพยากรต่างๆ มาบริหารให้เกิดประสิทธิภาพ การบริหารที่มีแนวคิดใหม่ๆ หรือนวัตกรรมใหม่ๆที่สร้างสรรค์และเกิดการพัฒนากับองค์กรและการสร้างความร่วมมือจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน


 

Article Details

บท
Academic Article

References

ติน ปรัชญพฤทธิ์.ศัพท์รัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.2535.
พิทยา บวรวัฒนา.การบริหารเชิงบูรณาการ. นนทบุรี : สำนักงานขาราชการพลเรือน.2546.
สมพงษ์ เกษมสิน.การบริหาร.กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไพบูลย์ สำราญภูติ. 2514.
ประทาน คงฤทธิ์ศึกษากร. สุขาภิบาลในฐานะปกครองตนเอง. กรุงเทพมหานคร : คณะรัฐประศาสน
ศาสตร์ สถาบันบัณฑิตบริหารศาสตร์.2539.
วรรษวรรณ บันลือฤทธิ์ และอุดม ศาสตร์เวช. หมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน. กรุงเทพมหานคร:
บริษัท เอกพิมพ์ไทย จำกัด, 2544.
ชูศักดิ์ เที่ยงตรง. การบริหารการปกครองท้องถิ่นของไทย. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.2518.
อนันต์ อนันตกูล. แนวคิดเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.2521.
บวร เทศาริทร์, ดร, ประเทศไทย 4.0 โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจใหม่, [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.drborworn.com/articledetail.asp?id=16223(25 พฤษภาคม 2560)
Koontz Harold & Cyril O’ Donnell.Principle Of Management : An Analysis of
Managerial Fucntions. New York : McGraw-Hill, 1972.
Sergiovanni.T.J. & Carver.F.D .The school executive : A theory of administration.
New York : Harper & Row, 1987.
Drucker Peter F.The Practice of Management.NewYork : Harper& Row Publishers.
1974.
Ernest Dale.Management : Theory and Practice. New York : McGraw-Hill, 1973.
Harold Koontz & Heinz Weihrich.Ninth Edition Management.New York : McGrew
Hillbook, 1991.
Hutchinson. Jonh G.Organization : Theory and Classical Concepts. NewYork :
McGraw-Hill 1967.