การพัฒนาสังคมยุคไทยแลนด์ 4.0 ตามหลักฆราวาสธรรม

Main Article Content

วีระพงศ์ เกียรติไพรยศ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันรัฐบาลกำหนดวิสัยทัศน์เชิงนโยบายในการนำประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 คือ โมเดลเศรษฐกิจที่จะนำพาประเทศไทยให้หลุดพ้นจากประเทศรายได้ปานกลาง ความเหลื่อมล้ำ และความไม่สมดุล เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ประเทศในโลกที่หนึ่ง ที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยขับเคลื่อนผ่านกลไกประชารัฐ คือการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน


ในบทความนี้จึงมุ่งเสนอแนวทางในการพัฒนาสังคมในยุคไทยแลนด์ 4.0 ตามหลักฆราวาสธรรม เป็นหลักธรรมสำหรับผู้ครองเรือน เพื่อประพฤติปฏิบัติไปสู่ความสำเร็จในชีวิต คือต้องมีความซื่อสัตย์ มีการแสวงหาความรู้ มีความอดทน และมีความเสียสละ ซึ่งแบ่งการพัฒนาออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับปัจเจกบุคล ระดับชุมชน และระดับประเทศ เพื่อพัฒนาสังคมให้มีความมั่งคั่ง มั่นคง ยั่งยืน และปรองดองในที่สุด

Article Details

บท
Academic Article

References

พระพรหมคุณาภรณ์, (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 16
กรุงเทพมหานคร: เอส. อาร์ พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด, 2551.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์.การพัฒนาชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนพานิช,
2526.
บวร เทศารินทร์, ดร. ประเทศไทย 4.0 โมเดลเศรษฐกิจใหม่. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:http://
www.drborworn.com/articledetail.asp?id=16223. (13 กรกฎาคม 2560).
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. ความหมายของการพัฒนา คำที่มีความหมายใกล้เคียง และแนวคิดพื้นฐาน
ของการพัฒนา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://goo.gl/LMFmym. (13 กรกฎาคม 2560).
Riggs. Fred W. “Modernization and Political Problems: Some Developmental
Prerequisites” Development Nations: Guest for A Model (Beling and
Toten). New York: Van Nostran Reinhold, 1970.