ความต้องการพัฒนาตนเองของครูผู้สอน ของโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเลย สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

Main Article Content

พระจักรพล ป้องศิริ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความต้องการในการพัฒนาตนเอง ของครูผู้สอนของโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเลย สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อเปรียบเทียบความต้องการในการพัฒนาตนเองของครูผู้สอนของโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเลย สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จำแนกตาม เพศ อายุ และประสบการณ์ทำงาน และเพื่อศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะในการพัฒนาตนเองของครูผู้สอนของโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเลย สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แต่ละด้าน จำแนกตาม เพศ อายุ และประสบการณ์ทำงาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนของโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเลย สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน 133 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน แบบทางเดียว (One-Way ANOVA) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffé)


          ความต้องการพัฒนาตนเองของครูผู้สอนของโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเลย สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ทุกด้านอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ การสร้างผลงานทางวิชาการ ด้านการศึกษาดูงาน การฝึกอบรม การประชุมสัมมนา และการศึกษาต่อ ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาตนเองของครูผู้สอน จำแนกตามเพศ พบว่า ภาพรวมและรายด้าน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  จำแนกตามอายุ พบว่า ภาพรวมและรายด้าน ด้านการศึกษาต่อ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านการฝึกอบรม ด้านการประชุมสัมมนา ด้านการศึกษาดูงาน และด้านการสร้างผลงานทางวิชาการ ไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามประสบการณ์ทำงาน พบว่า ภาพรวมและรายด้าน ด้านการศึกษาต่อ ด้านการฝึกอบรม ด้านการศึกษาดูงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านการประชุมสัมมนา และด้านการสร้างผลงานทางวิชาการไม่แตกต่างกัน


          ผลการสัมภาษณ์ความต้องการ การพัฒนาตนเองของครูผู้สอนของโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเลย สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พบว่า ครูมีความต้องการในการพัฒนาตนเอง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการศึกษาต่อ ด้านการศึกษาดูงาน ด้านการสร้างผลงานทางวิชาการ ด้านการฝึกอบรม และด้านการประชุมสัมมนา ซึ่งไม่สอดคล้องกับผลการศึกษาเชิงปริมาณ มีลำดับความต้องการพัฒนาตนเอง เป็นด้านการสร้างผลงานทางวิชาการ ด้านการสร้างผลงานทางวิชาการ ด้านการศึกษาดูงาน ด้านการฝึกอบรม ด้านการประชุมสัมมนา และด้านการศึกษาต่อ


          ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองของครูผู้สอนของโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเลย สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พบว่า ข้อเสนอแนะเชิงปริมาณและการสัมภาษณ์ ด้านการศึกษาต่อ ควรส่งเสริมด้านการศึกษา  ในระดับที่ครูผู้สอนต้องการ ควรมีการสนับสนุนการเรียนต่อ เพื่อพัฒนาบุคลากรและสถานศึกษา ด้านการฝึกอบรม ควรให้จัดอบรมในการเขียนแผนกานสอนอย่างเต็มรูปแบบ อยากให้มีการอบรมพัฒนาหลักสูตรบ่อยๆ จะได้มีเทคนิคในการเรียนการสอนมากขึ้น ด้านการประชุมสัมมนา ควรจัดการประชุมสัมมนาตามหัวข้อที่ครูสนใจหรือพบเจอปัญหา ควรจัดประชุมสัมมนานอกสถานที่ มีการประชุมเชิงวิชาการและให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ แก่ครูเพื่อใช้ในการสอน ด้านการศึกษาดูงาน ควรมีการศึกษาดูงานโรงเรียนที่มีชื่อเสียงอื่นๆ โรงเรียนควรจัดให้มีการดูงานนอกสถานที่ และด้านการสร้างผลงานทางวิชาการ มีความต้องการทุนสนับสนุนไปชมการแสดงผลงานทางวิชาการ เพื่อนจะได้แนวคิดในการสร้างผลงานทางวิชาการ

Article Details

บท
Research Articles

References

กรรณิการ์ กงแก้ว. (2551). ความต้องการพัฒนาบุคลากรของอาจารย์มหาวิทยาลันฟาร์อิส เทอร์น. (การค้นคว้าแบบอิสระ
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
คะนึงนิต สีดา (2554). ความต้องการในการพัฒนาตนเองของครูผู้สอนในโรงเรียนกลุ่มปลวกแดง พัฒนา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา)
เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์.(2552). ข้อคำนึงในการสร้างเครื่องมือประเภทมาตรประมาณค่า(Rating Scale) เพื่องานวิจัย. (เอกสารเผยแพร่)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
พิมพ์อร สดเอี่ยม. (2557). สถิติสาหรับการวิจัยทางการศึกษา. เอกสารประกอบการสอน.ภาควิชาการ บริหารการศึกษา, (มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง)
พรพิมล แย้มศรี. (2549). ความต้องการในการพัฒนาบุคลากรของข้าราชการครู สังกัดสานักงานเขต พื้นที่การศึกษาชลบุรีเขต 3 อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. (วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัย บูรพา)
พนัส หันนาคินทร์. (2548). การบริหารบุคลากรในโรงเรียน.( พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร :
เนติกุล การพิมพ์)
ลภัสรดา ธาดานุกูลวัฒนา. (2549). ความต้องการพัฒนาบุคลากรของครูในสถานศึกษาเอกชนเขต อำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา)
ศิริพรรณ ดิลกวัฒนานันท์. (2551). ความต้องการในการพัฒนาสู่มาตรฐานวิชาชีพครูของบุคลากรครู ในโรงเรียนพระหฤทัย จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
ศิโรรัตน์ ตระกูลสถิตมั่น, (2547). ความต้องการการพัฒนาตนเองของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนดุสิต. (ภาคนิพนธ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา)
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2544). การวิจัยเชิงนโยบาย รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้น พื้นฐานตามแนว พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์การศาสนา)
สมศักดิ์ คงเที่ยง และอัญชลี โพธิ์ทอง. (2542). เอกสารการบรรยายกระบวนวิชา EA 733 การบริหาร บุคลากรและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. (กรุงเทพมหนคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง)
อนงค์ จุนนารัตน์. (2540). ความต้องการในการพัฒนาบุคลากรของอาจารย์โรงเรียนนารีนุกูล
จังหวัดอุบลราชธานี. (ภาคนิพนธ์, พบ.ม. พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตพัฒนาสังคม, สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์)