ประสบการณ์เรื่องเล่ากับจินตนาการทางภาษาในวรรณกรรมจวงจื่อ

Main Article Content

Thamatistan Pornbandalchai

บทคัดย่อ

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อสนับสนุนเรื่องเล่าทางจินตนาการในวรรณกรรมจวงจื่อ ที่ยืนยันว่าคนฉลาดคือคนที่สามารถใช้จินตนาการในการเล่าเรื่อง เพราะจวงจื่อมองว่าประสบการณ์เรื่องเล่าแบบตรงไปตรงมาอย่างที่เพลโต้เสนอนั้นมิได้นำไปสู่ความรู้ที่แท้จริง เพลโต้จึงให้เหตุผลว่าการที่นักกวีเล่าเรื่องของนักรบเขาได้ใช้จินตนาการมิใช่นักรบจริง เราจึงไม่อาจถือได้ว่าเรื่องนั้นเชื่อถือได้เท่ากับนักรบเล่าเรื่องของตนเอง เพราะการใช้จินตนาการเป็นการถอดแบบมิใช่วิธีการเล่าเรื่องที่ดีและเป็นไปไม่ได้เลยที่จะถอดแบบธรรมชาติของสิ่งนั้นออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่จวงจื่อเสนอว่าการเล่าเรื่องด้วยวิธีการถอดแบบนั้นก็เพื่อสร้างอารมณ์ระหว่างผู้พูดและผู้ฟังซึ่งเป็นวิธีการที่จะเชื่อมโยงความรู้สึกได้ เพราะเรื่องเล่าผ่านจินตนาการจะเป็นแง่มุมที่นำไปสู่ความจริงภายในของมนุษย์ที่สามารถรับรู้ร่วมกัน จวงจื่อจึงให้เหตุผลว่าผู้ที่ฟังจากประสบการณ์ของผู้เล่านั้นก็ไม่จำเป็นจะต้องมีความรู้สึกหรือความเข้าใจที่ตรงกัน เขาสนใจเพียงว่าระหว่างผู้เล่าและผู้ฟังมีการรับรู้ผ่านประสบการณ์บางอย่างร่วมกันหรือมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันมากที่สุดเพื่อเป็นจุดเชื่อมโยงที่นำไปสู่ความจริงได้โดยผ่านจินตนาการทางภาษาเป็นสื่อกลาง

Article Details

บท
Articles

References

มาร์คุส ออเรลิอุส. (2558). เมื่อจักรพรรดิพินิจชีวิต. แปลโดย ปกรณ์ เลิศเสถียรชัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอ้มายก้อด.
เพลโต. (2559). รีพับลิก. แปลโดยเวธัส โพธารามิก. พิมพ์ครั้งที่ 3. สมุทรสาคร: พิมพ์ดี.
สุรัติ ปรีชาธรรม. (2556). จวงจื่อฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร: โอเพ่นบุ๊กส์.
สุวรรณา สถาอานันท์. (2556). กระแสธารปรัชญาจีน: ข้อโต้แย้งเรื่องอำนาจ ธรรมชาติ และจารีต. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สยามสยามปริทัศน์.
โฮเมอร์. (2560). มหากาพย์อีเลียด. แปลโดย เวธัส โพธารามิก. นนทบุรี: ภาพพิมพ์.
Ludwig Wittgenstein. (1967). Philosophical Investigations. tr.by G.E.M. Anscombe. 3rd edition. (Oxford: Basil Blackwell Ltd).
Elizabeth belfiore. (2009). "The Elements of Tragedy", A Companion to Aristotle, Edited by Georgios Anagnostopoulos, (Oxford: Blackwell Publishing Ltd).