สิกขาบท 150 ข้อ ในสมณวรรค ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย : ศึกษาวิเคราะห์และตีความ

Main Article Content

สิปป์มงคล ป้องภา
นคร จันทราช
ทิพย์วิทย์ ใสชาติ
พระสุภาพร เตชธโร
เพ็ญพรรณ เฟื่องฟูลอย

บทคัดย่อ

สิกขาบทตามหลักพระพุทธศาสนา หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ต้องศึกษาเป็นบทบัญญัติข้อ หนึ่งๆที่พระภิกษุพึงปฏิบัติตามในแต่ละขอๆ โดยมีจำนวนทั้งหมด 227 ข้อ คือ ปาราชิก 4 ข้อ สังฆาทิเสส 13 ข้อ อนิยต 2 ข้อ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30 ข้อ ปาจิตตีย์มี 92 ข้อ ปาฏิเทสนียะ 4 ข้อ เสขิยะ 26 ข้อ โภชนปฏิสังยุตต์ 30 ข้อ ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ 16 ข้อและอธิกรณสมถะ 7 ข้อ การสวดปาติโมกข์ของคณะสงฆ์ไทยพบว่า การสวดปาฏิโมกข์มีพิธีกรรมโดยมีบุพกรณ์และบุพกิจ วิธีการสวดมี 2 อย่างคือ สวดแบบย่อกับแบบพิศดาร และประโยชนที่เกิดจากการสวดพระปาฏิโมกข์มี 2 ระดับ คือ ประโยชน์กับตนเองและประโยชน์กับสังคม การสวดพระปาฏิโมกข์ของคณะสงฆ์ไทยเป็นไปตามหลักพุทธบัญญัติทำให้คณะสงฆ์ไทยมีความรูปในการสวดพระปาฏิโมกข์และเห็นคุณค่าตลอดจนความมุ่งหมายของการสวดพระปาฏิโมกข์ ส่วนการวิเคราะห์และตีความสิกขาบท 150 ข้อ ในสมณวรรค ติกนิบาตร อังคุตตรนิกาย ในสังคมไทยพบว่า ปัญหาความขัดแย้งเรื่องจำนวนสิกขาบท 150 ข้อ เกิดจากการยึดหลักการแปลพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยและไม่ยอมรับอรรถกถา ขาดการสอบทานจากพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีโดยตรง กลายเป็นปัญหาเรื่องการสวดปาฏิโมกข์เพียงจำนวนสิกขาบท 150 ข้อ ทำให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติประกาศมติมหาเถรสมาคมและมีประกาศพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 131 ตอนที่ 130 ง ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2557 ประกาศให้คณะสงฆ์ไทยถือปฏิบัติตามพระวินัยปิฎกด้วยการสวดพระปาติโมกข 227 สิกขาบท

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

เพ็ญพรรณ เฟื่องฟูลอย, นักวิชาการอิสระ

นักวิชาการอิสระ

References

พพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), (2544) . คำวัด 1, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์

เลี่ยงเชียง.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), (2542).วินัยเรื่องที่ใหญ่กว่าที่คิด. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

_______.(2542) .นิติศาสตร์แนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม.

______.(2543). รู้จักพระไตรปิฎกเพื่อเป็นชาวพุทธที่แท้. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์

เอดิสัน เพรสโพรดักส์.

______.(2545). จัดระเบียบสังคมตามคตินิยมแห่งสังฆะ. พิมพ์ครั้งที่10. กรุงเทพฯ : มูลนิธิ

พุทธธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต).(2543). รู้จักพระไตรปิฎกให้ชัดให้ตรง (กรณีพระคึกฤทธิ์).

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539).พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราช

วิทยาลัย. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2536).พระวินัยปิฎก.กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส.(2552). วินัยมุขเล่ม 1, พิมพ์

ครั้งที่ 40. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช. (2541). ศีลในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ :

มหามกุฏราชวิทยาลัย.

______. (2540). หลักพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

แสวง อุดมศรี.(2543). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.