รูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงพุทธบูรณาการในเขตอุตสาหกรรมสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ไชยวัตร์ ศิริศักธิ์ดา
พระมหาสุพร รกฺขิตธมฺโม
สิรภพ สวนดง

บทคัดย่อ

 


ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมในเขตอุตสาหกรรมสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา โดยพื้นฐานเขื่อนลำเพลิงมีการใช้น้ำปริมาณมาก ส่งผลทำให้น้ำในเขื่อนขาดแคลนลงไปได้ ส่งผลกระทบต่อโรงงานอุตสาหกรรมในบางช่วงที่น้ำขาดแคลนก็จำเป็นต้องมีน้ำสำรอง คือ ระบบน้ำบาดาลแทน และน้ำเสียจากโรงงานทุกโรงงานได้บำบัดน้ำและปล่อยลงมาตามท่อระบายน้ำ ลงสู่พื้นที่การเกษตร จึงไมjกjอใหhเกิดน้ำเสียค้างเป็นเวลานาน น้ำเสียจึงเกิดน้อยมาก จุดที่น้ำเสีย คือ น้ำเน่าบริเวณที่น้ำไหลไม่สะดวก ขังอยู่เป็นเวลานาน ทําให้เกิดน้ำเสียที่ยังแก้ไขไม่ได้ส่วนใหญ่เป็นน้ำเสียชุมชน ที่มีแหล่งกําเนิดจากกิจกรรมในครัวเรือนและสถานประกอบการ เช่น น้ำทิ้งจากการอุปโภค บริโภค การซักล้าง การทําครัว เป็นต้น ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันเนื่องจากสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม การเกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิตประจำวันจากที่เคยสุขสบายก็อาจจะเกิดเป็นทุกข์เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ เกิดโรคภัยไข้เจ็บ ดังเช่น น้ำ อาหารที่ดื่มกินถ้าสกปรกก็จะเกิดเป็นโรคอุจาระร่วงไทฟอยด์ หรือโรคที่เป็นพิษทางสารเคมี


           เสนอรูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงพุทธบูรณาการในเขตอุตสาหกรรมสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา การออกแบบกิจกรรม รูปแบบกิจกรรมสำคัญ ได้แก่ กิจกรรมการพัฒนาฐานข้อมูล โดยสำรวจภาคสนามของเส้นทางน้ำ แหล่งน้ำ และนำข้อมูลของภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาประกอบ พร้อมกับให้ชาวบ้านได้วิเคราะห์ สังเคราะห์การใช้ประโยชน์ และการเปลี่ยนแปลงของแหล่งน้ำ รูปแบบกิจกรรมให้ชาวบ้านร่วมกันวิเคราะห์ภาพอนาคตที่ชุมชนอยากให้เป็นโดยเชื่อมโยงกับ“ภาพอนาคต”เพื่อให้ร่วมกันออกแบบภูมิสถาปัตย์ของชุมชนที่ต้องการ ให้ชาวบ้านร่วมกำหนดแนวทางการจัดการน้ำที่สอดคล้องระบบนิเวศของชุมชน โดยอาศัยกลไกการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย โดยเฉพาะประชาชนในลุ่มน้ำผู้มีส่วนได้เสียด้วย


 

Article Details

บท
Research Articles

References

กกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม, (2537),

ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม, พิมพ์ครั้งที่ 6, (กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตร

แห่งประเทศไทย จำกัด.

ชูศักดิ์ วิทยาภัค, (2543),“ชุมชนกับการจัดการทรัพยากรป่าไม้”,พลวัตของชุมชนในการ

จัดการทรัพยากรสถานการณ์ประเทศไทย, กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์, (2551), การเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อมเมื่อสิทธิของประชาชนปะทะ

แนวนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ:กรณีมาบตาพุด, รายงานการวิจัย:

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สำนักนโยบายและแผนพัฒนาสิ่งแวดล้อม, (2554), รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อม พ.ศ.

-2539, กรุงเทพฯ: กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม.

สุชาดา จันทร์ทอง, (2540), ปัญหาการบริหารและความต้องการการนิเทศด้านสิ่งแวดล้อม

ทางสุขภาพในโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตการศึกษา 7, บัณฑิตวิทยาลัย :จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

โสภารัตน์ จารุสมบัติ, (มกราคม-เมษายน 2554), ศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ในการจัดการวารสารสถาบันพระปกเกล้า, ฉบับที่ 9.

อเนก มหาเกียรติคุณ, (2557), การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการเลี้ยงสุกรบทเรียน

จากในพื้นที่เทศบาลตำบลริมปิง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน, วิทยาลัยการปกครอง

ท้องถิ่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เปิดแนวทางจัดการน้ำไทย ภายใต้บริบท ‘วันน้ำโลก’ 22 มีนาคม 2561 ทีมข่าวสิ่งแวดล้อม,

อ้างอิงมาจากเว็บไซต์ https://greennews.agency/?p=18730.