การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษมัคคุเทศก์น้อยตาม รอยเส้นทางการท่องเที่ยว อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรอบรมภาษาอังกฤษ “มัคคุเทศก์น้อยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว 2) เพื่อสร้างหลักสูตรอบรมภาษาอังกฤษ “มัคคุเทศก์น้อยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว 3) เพื่อศึกษากระบวนการใช้หลักสูตรอบรมภาษาอังกฤษ “มัคคุเทศก์น้อยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม ซึ่งงานวิจัยนี้ใช้รูปแบบงานวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 คน
ผลการวิจัยพบว่า
ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ทั้งหมด 20 คน เป็นเพศหญิง จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 75 และเป็นเพศชาย จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ ๒๕ กลุ่มประชากรตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโขงเจียมวิทยาคม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่หลักสูตรอบรมภาษาอังกฤษ “มัคคุเทศก์น้อยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการฝึกอบรมหลักสูตรภาษาอังกฤษ “มัคคุเทศก์น้อยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ประการที่หนึ่ง ผลการทดสอบความรู้และทักษะก่อนและหลังการฝึกอบรมของ ผู้เข้ารับการฝึกอบรม สรุปได้ว่าคะแนนหลังการฝึกอบรมสูงกว่าคะแนนก่อนการฝึกอบรมอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านระดับความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมการใช้หลักสูตรภาษาอังกฤษมัคคุเทศก์น้อย มีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยแยกผลลัพธ์แต่ละด้านดังนี้ ด้านวิทยากร ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านวิธีการสอน ด้านหลักสูตร ด้านสื่อการสอนและสถานที่ และด้านการวัดผลประเมิณผล ตามลำดับ ซึ่งทั้ง 5 ด้าน ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
เนื้อหาสาระหรือหัวข้อวิชาที่จำเป็นในการสร้างหลักสูตรฝึกอบรมการใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารในบริบทการนำเที่ยว ของนักเรียนโรงเรียนโขงเจียมวิทยาคาร มี 5 หัวข้อ วิชา ดังนี้
- 1. ภาษาอังกฤษเพื่อการแนะนำตนเองและผู้อื่น 2. ภาษาอังกฤษเพื่อโต้ตอบและสนทนา 3. ภาษาอังกฤษเพื่อการทักทายและอาลา 4. การสนทนาภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการท่องเที่ยว 5.การสนทนาภาษาอังกฤษเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
นอกจากการสร้างหลักสูตรเพื่อการพัฒนาภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์น้อยแล้วนั้นยังเป็นการสร้างความพร้อมและแรงจูงใจให้กับคนรุ่นใหม่หันมาสนใจการเป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่นของตนเอง อาจจะเริ่มจากการเป็นมัคคุเทศก์ฝึกหัดก่อน แล้วค่อยๆ พัฒนาตนเองจนสามารถเป็นมัคคุเทศก์ได้ในไม่ช้าและอาจรวมถึงการสร้างรายได้ให้กับตนเองในระหว่างเรียนได้อีกด้วย
การพัฒนาหลักสูตรจึงเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาที่สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นการจัดการศึกษาให้สนองความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งจำเป็น และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรในลักษณะของการพัฒนา หลักสูตรจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
Article Details
References
เด็กไทยด้านทักษะการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
จงกลนี ชุติมาเทวินทร์. (2542). การฝึกอบรมเชิงพัฒนา. กรุงเทพฯ: พี เอ ลิฟวิ่ง.
ชูชัย สมิทธิไกร . (2548) . การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฎฐพันธ์ เขจรนันท์. (2545). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ทรงพล ภูมิทัศน์. (2540). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ฝ่ายเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ทิศนา แขมณี. . (2545). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิรันดร์ จุลทรัพย์ .(2542). กลุ่มสัมพันธ์สำหรับการฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: หาดทิพย์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การพัฒนาและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
รุจิร์ ภู่สาระ และคณะ. (2545). การบริหารหลักสูตรในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์พับบลิเคชันส์.
สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2537). วิธีสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
อัจฉรา วงศ์โสธร. (2544). การทดสอบและประเมินผลการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เพ็ญแข ประจนปัจจนึก. (2527). ลักษณะมุ่งอนาคต. เอกสารสอนชุดวิชาพัฒนาการวัยรุ่นและการ
อบรมหน่วยที่ 9-15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.