กระบวนการพัฒนาจิตใจและปัญญาของพระสงฆ์สายวัดป่าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฒฺฑโน
พระสุภาพร เตชธโร
เกียรติศักดิ์ บุตรราช
พระมหาสิงห์ณรงค์ สิรินฺทรเมธี
พระมหาณัฐกิตติ อนารโท
นคร จันทราช

บทคัดย่อ


วัดป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวเชิงพุทธในด้านแหล่งธรรมชาติที่ประกอบด้วยภูมิทัศน์และบรรยากาศที่ร่มรื่น เหมาะสำหรับการพักผ่อนทางกายและทางใจ สถานที่ปฏิบัติธรรมมีความพร้อมทั้งพระวิทยากร ที่มีความรู้ประสบการณ์ที่เพียบพร้อม รวมทั้งที่พักสำหรับผู้สนใจเข้าปฏิบัติธรรม ในส่วนทรัพยากรทางวัฒนธรรมบางแห่งเป็นวัดที่มีพระพุทธรูปสำคัญและมีพุทธศิลป์แต่ละสมัย บางแห่งเคยมีพระสงฆ์สายกรรมฐานที่เป็นศิษยานุศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต บิดาแห่งพระกรรมฐาน จึงมีเจดีย์ที่เก็บอัฐบริขาร อัฐิธาตุ และรูปเหมือน ประดิษฐานไว้ให้นักท่องเที่ยวได้เข้าสักการบูชา ส่วนทรัพยากรประเพณี เทศกาลและงานสำคัญทางศาสนาวัดป่า ส่วนใหญ่ ได้มีการจัดงานสำคัญในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วัดเกิดของอาจารย์สายพระกรรมฐาน กิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น การทำบุญตักบาตร รักษาศีล ฟังธรรม ปฏิบัติธรรมและเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ส่วนทรัพยากรด้านบริการ วัดป่าส่วนใหญ่มีการจัดสถานที่จอดรถ และจำนวนห้องสุขาที่สะอาดและเพียงพอสำหรับนักท่องเที่ยว ซึ่งแสดงถึงความพร้อมสำหรับนักเที่ยวควรได้รับทุนสนับสนุนด้านการจัดทำคู่มือเพื่อเป็นสารสนเทศพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธในระดับโลก และเพิ่มโอกาส เพิ่มรายได้ให้กับวัด ชุมชนและผู้เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยววัดป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเพิ่มบทบาทการจัดกิจกรรมเชิงพุทธและการปฏิบัติธรรมส่งเสริมการพัฒนาจิตใจควบคู่ไปกับการท่องเที่ยว รวมทั้งการปลูกจิตสำนึกเชิงอนุรักษ์ต่อการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาที่ยั่งยืน

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พระสุภาพร เตชธโร, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ศาสนาและปรัชญา

เกียรติศักดิ์ บุตรราช, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

การสอนภาษาอังกฤษ

พระมหาสิงห์ณรงค์ สิรินฺทรเมธี , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

การสอนภาษาอังกฤษ

พระมหาณัฐกิตติ อนารโท, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระพุทธศาสนา

นคร จันทราช, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระพุทธศาสนา

References

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ.(2540). อารยธรรมไทยพื้นฐานทางประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ :บริษัท

เลิฟแอนด์ลิพเพรส จำกัด.

พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท). (2554). อุปลมณี .อุบลราชธานี: ศูนย์เผยแผ่มรดกธรรม

พระโพธิญาณเถร.

วศิน อินทสระ. (2515). สาระสำคัญแห่งมงคล 38. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรณาคาร.

วรรณา วงษ์วานิช. (2515). ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุขวฒฺโน). (2533). ความสุขหาได้ไม่ยาก. กรุงเทพฯ :

มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สุมาลี มหณรงค์ชัย. (2547). ทาน-สังฆทาน ฉบับคู่มือชาวพุทธ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์,

พระครูภาวนาโพธิคุณ .(2553). ธรรมทายาท ชุดที่ 8. ขอนแก่น :โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

พระวิมาน คมฺภีรปญฺโญ .(2554). ย้อนรอยประวัติหลวงปู่พระครูโพธิสารคุณ. ขอนแก่น :

โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโณ .(2557). ประวัติหลวงตา. กรุงเทพฯ : บริษัทศิลป์สยาม

บรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ จำกัด.

วิชัย เทียนน้อย.(2528). ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.