การมีส่วนร่วมของประชาชนในนโยบายสาธารณะระดับท้องถิ่น เทศบาลเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

สุปัน สมสาร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในนโยบายสาธารณะระดับท้องถิ่น เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในนโยบายสาธารณะระดับท้องถิ่น และเพื่อหาแนวทางในการมีส่วนร่วมของประชาชนในนโยบายสาธารณะระดับท้องถิ่น ของเทศบาลเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่หัวหน้าครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในเทศบาลเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู ทั้งหมด 387ครัวเรือน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยด้วยการใช้สูตรของยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วนและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนาได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานได้แก่ t-test และ F-testและหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


           ผลการศึกษา พบว่า


           การมีส่วนร่วมของประชาชนในนโยบายสาธารณะระดับท้องถิ่น  เทศบาลเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=3.27, S.D.=0.33) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ (=3.54, S.D.=0.61) รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ (=3.29, S.D.=0.52) และด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล (=3.19, S.D.=0.36) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (=3.08, S.D.=0.30)


           ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในนโยบายสาธารณะระดับท้องถิ่น เทศบาลเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษาและอาชีพ พบว่า ด้านเพศ อายุระดับการศึกษาและอาชีพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


           แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในนโยบายสาธารณะระดับท้องถิ่น เทศบาลเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู พบว่าประชาชนยังขาดการมีส่วนร่วมในการจัดทำร่างข้อบัญญัติของเทศบาลเกี่ยวกับโครงการหรือนโยบายสาธารณะ การวางแผนงานโครงการหรือนโยบายสาธารณะ วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของประชาชนในชุมชนเพื่อจัดทำโครงการหรือนโยบายสาธารณะรวมทั้ง ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนในนโยบายสาธารณะและมีส่วนร่วมในการเข้าร่วมการประชุมประชาคมเพื่อเสนอปัญหาและความต้องการมีส่วนร่วมในนโยบายสาธารณะของประชาชนในเทศบาลเมืองหนองบัวลำภู

Article Details

บท
Research Articles

References

เทศบาลเมืองหนองบัวลำภู, (2562). แผนพัฒนาสี่ปี พ.ศ. 2561–2563. หนองบัวลำภู

ไพรัตน์ เตชะรินทร์. (2527). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์ การ

พัฒนาปัจจุบันของประเทศไทย ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา.

กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

มหาคุณาภรณ์ ชัยวีรกุล, (2556).การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น :

กรณีศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองขลุง จังหวัดจันทบุรี.

บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

วสันต์ จันทจรและสิทธิชัย ตันศรีสก, (2560), การมีส่วนร่วมของประชาชนในการ

บริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลหนองจิก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิลดา อินฉัตร และ อนันต์ ธรรมชาลัย, (2560), แนวทางการบริหารนโยบายสาธารณะ

แบบมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นของพื้นที่ภาคอีสานตอนใต้. บัณฑิตวิทยาลัย:

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: เฟื่องฟ้า

พริ้นติ้งจำกัด.

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.

กรุงเทพฯ:บริษัท ธนาเพรส จำกัด, (342.02 ส691ร) รัฐธรรมนูญไทย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, (2560). แผนพัฒนา

เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). สภานิติบัญญัติ

แห่งชาติ. 2557. ราชกิจจานุเบกษา. สืบค้นวันที่ 8 กันยายน 2560 จาก http://www.senate.go.th/w3c/senate/pictures/comm/52/lawguide/law1/6.pdf