กระบวนการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธของโครงการไหว้พระ 9 วัด จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

พระสุภาพร เตชธโร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ๑) แนวคิดรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธ โครงการจัดไหว้พระ ๙  วัด๒) เพื่อศึกษากระบวนการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธของโครงการไหว้พระ ๙  วัดในจังหวัดอุบลราชธานี ๓) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธของโครงการไหว้พระ ๙  วัดในจังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีวิทยาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ซึ่ง ในการวิจัยครั้งนี้ใช้การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling)  เฉพาะกลุ่มประชากรที่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นการวิจัย โดยจำแนกประชากรกลุ่มตัวอย่างออกเป็น ๓ กลุ่มคือ ๑) พระภิกษุ ๒) เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี และเจ้าหน้าที่เทศบาลนครอุบลราชธานี และ๓) นักท่องเที่ยว รวมประชากรกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ๒๙ รูป/คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบบันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์ แบบสำรวจ รวมทั้งแบบบันทึกการประชุมกลุ่มมาใช้ในการเก็บรวบรวมแล้วนำข้อมูลที่ได้วิเคราะห์สรุปเขียนงานวิจัยต่อไป


              ผลการวิจัยพบว่า


       ๑) แนวคิดรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธ โครงการจัดไหว้พระ ๙  วัดเป็นโครงการหนึ่งที่ถูกจัดขึ้นโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เดิมชื่อโครงการ "ไหว้พระขอพร ๙  วัดพระอารามหลวง" ที่จัดขึ้นในปี ๒๕๔๕ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในเชิงพุทธศาสนาแก่กลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจ จนประสบผลสำเร็จมีผู้ร่วมโครงการอย่างมาก ต่อมาจังหวัดอุบลราชธานีได้นำโครงการไหว้พระ ๙  วัด นี้มาจัดในเขตเทศบาลจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดของตน


   ๒) กระบวนการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธของโครงการไหว้พระ ๙  วัดในจังหวัดอุบลราชธานี พบว่ามีองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี และเทศบาลนครอุบลราชธานี ได้ร่วมกับพระภิกษุในวัดที่เลือกเข้าร่วมโครงการจำนวน ๙  วัด จัดอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวด้วยการจัดหารถทัวร์พาเที่ยว การจัดวิทยากรประจำรถให้ ออกป้ายโฆษณา และประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างๆ รวมทั้งร่วมเสนอในการจัดภูมิทัศน์ที่เอื้อต่อการท่องเที่ยว โดยจัดดูแลในเรื่องความสะอาด สถานที่ที่เอื้อต่อการต้อนรับนักเที่ยวให้มีมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพ


    ๓) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธของโครงการไหว้พระ ๙  วัดจังหวัดอุบลราชธานี ปรากฏในแผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์การตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๓ เป็นแผนการท่องเที่ยวที่พยายามเชื่อมโยงการท่องเที่ยวไปสู่ในระดับต่างๆ เพิ่มศักยภาพด้วยการพัฒนาเส้นทาง เพิ่มจำนวนแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพมีมาตรฐานภายใต้ขีดความสามารถของการรองรับด้านเศรษฐกิจ พื้นที่ สิ่งแวดล้อม และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวเป็นสำคัญทั้งนักท่องเที่ยวไทยและนักท่องต่างประเทศในอนาคต

Article Details

บท
Research Articles

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2549). การส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยวความสนใจพิเศษ.
กรุงเทพมหานคร.
กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ และคณะ.(2555). วารสารนักบริหาร ฉบับที่ 4.มหาวิทยาลัย
กรุงเทพมหานคร.
คิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่.กรุงเทพมหานคร : บริษัท
ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์ จากัด.
ฉลองศรี พิมลสมพงศ์.(2548). การวางแผนและการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว.
กรุงเทพมหานคร : คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ตาบทิพย์ ไกรพรศักดิ์. (2546). กลยุทธ์การตลาดในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 9-15. นนทบุรี :
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
ธรรมนูญ ประจวบเหมาะ.(2529). อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกับความมั่นคงของชาติ.
กรุงเทพมหานคร : วิทยาลัยปูองกันราชอาณาจักร.
นิเวศน์ ธรรมะ.(2552). การจัดการการตลาด. กรุงเทพมหานคร : แมคกริ-ฮิล.
นุชนารถ รัตนสุวงค์ชัย.(2545). กลยุทธ์การตลาดในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว.นนทบุรี :
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชม.
เนาวรัตน์ พลายน้อย และคณะ. (2538). พฤติกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศของ
นักท่องเที่ยวไทย. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา.(2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
วรเดช จันทรศร. (2544). การพัฒนาต้นแบบการบริการสาธารณะที่เป็นเลิศ : กรณีศึกษาจาก
ต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร : สมาคมนักวิจัยมหาวิทยาลัยไทย.
วินิจ วีรยางกูร. (2532). การจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร :
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วีระพล ทองมา.(2544). การจัดการทรัพยากรกรเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากการ
ท่องเที่ยว.มหาวิทยาลัยแม่โจ้ : จังหวัดเชียงใหม่.
ศุภลักษณ์ อัครางกูร.(2555).พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.