การบริหารจัดการชั้นเรียนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการชั้นเรียนของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการชั้นเรียนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารจัดการชั้นเรียนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 จำนวน 113 โรงเรียน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า
1.การบริหารจัดการชั้นเรียนของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 โดยรวมทั้ง 5 องค์ประกอบ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า ด้านการสร้างวินัยในชั้นเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ การคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การดำเนินการสอนอย่างเป็นระบบ ส่วนการจัดกิจกรรมให้นักเรียนประสบความสำเร็จ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
- การบริหารจัดการชั้นเรียนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 พบว่า องค์ประกอบการบริหารจัดการชั้นเรียนโดยรวมไม่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- แนวทางการบริหารจัดการ ชั้นเรียนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 มีการเสนอแนวทางการบริหารจัดการชั้นเรียนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 พบว่า 1) ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ครูผู้สอนต้องดำเนินการจัดวัสดุอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ 2) การดำเนินการสอนอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อนำใช้ มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำมาใช้สอนได้ตรงตามตัวชี้วัดที่หลักสูตรกำหนด 3) การจัดกิจกรรมให้นักเรียนประสบความสำเร็จ จัดกิจกรรมให้เหมาะสม และสอดคล้องกับเนื้อหานั้น ๆ เสริมสร้างความรับผิดชอบและให้มีส่วนร่วมต่อการเรียนรู้ของตนเอง ได้คิดและลงมือปฏิบัติจริง 4) การสร้างวินัยในชั้นเรียน มีการกำหนด กฎกติกา ข้อตกลงในชั้นเรียนเพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการเรียนการสอน และ5) การคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล มีการออกเยี่ยมบ้านนักเรียน และมีการออกแบบกิจกรรมการเรียนรูที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
Article Details
References
กุลนิษฐ์ชา รานอก. (2554), “การศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการจัดการชั้นเรียน
ของครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
นครราชสีมา เขต 5”. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ฆนัท ธาตุทอง. (2552), การจัดการชั้นเรียน :ห้องเรียนแห่งความสุข. กรุงเทพฯ :เพชรเกษม.
จันทราภาศ จิตรแก้ว. (2559), “ประสิทธิภาพการจัดการชั้นเรียนของครูโรงเรียนระดับ
ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในจังหวัดตรัง”. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2559) : 31-36.
ชนิดา ยอดสาลี และกาญจนา บุญส่ง. (2559), “ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ
นักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2”.
วารสารวิชาการ Veridian E-Journal.Silpakorn University. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1
(มกราคม-เมษายน 2559) : 1208-1223
วิชัย วงษใหญ่และมารุต พัฒผล. (2552), จากหลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา:
กระบวนทัศน์ใหม่การพัฒนา. กรุงเทพฯ : จรัญสนิทวงศการพิมพ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557), แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการ
เรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 4.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพชุมนุมสหกรณการเกษตรแหงประเทศไทย จํากัด.
สุรวิทย์ พลมณี. (2558), “ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียน
มัธยมศึกษา จังหวัดชัยภูมิ”. วารสารบริหารการศึกษา มศว. ปีที่ 12 ฉบับที่ 23
(กรกฎาคม-ธันวาคม 2558) : 60-70
อรทัย เลาอลงกรณ์. (2560), “การศึกษาการจัดการชั้นเรียนของผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร จังหวัดลำปาง”. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎ
ลำปาง. ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2560) : 185-198
อรวรรณ อ่อนสิงห์. (2553),“ทำการศึกษาปจจัยด้านสติปญญาและไม่ใชสติปญญาที่สงผล
ตอผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตรและวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร
เขต 2”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.