THE EFFECTIVENESS OF THE OPERATI ประสิทธิผลการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๒ ๒) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๒ ๓) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๒ ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าบริหารงานทั่วไปหรือหัวหน้างานกิจการนักเรียน และครูผู้รับผิดชอบงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๖๒ จำนวน ๒๑๓ คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๙๙๖ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test), One-Way-ANOVA, (F-test) ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Different) และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียน
ผลการวิจัยพบว่า
๑) ประสิทธิผลการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๒ โดยภาพรวมและรายด้านทั้ง ๕ ด้าน พบว่าอยู่ในระดับมาก
๒) ประสิทธิผลการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๒ จำแนกตามเพศและ อายุ ขนาดของโรงเรียน ประสบการณ์การทำงาน และการฝึกอบรม โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕
๓) แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๒ สรุปได้ดังนี้ ๑) ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจในบทบาทของครู เน้นการทำงานเป็นทีม มีวิธีการที่หลากหลาย ๒) ด้านการคัดกรองนักเรียน กำหนดนโยบาย แต่งตั้งผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน ใช้ระบบเครือข่ายออนไลน์ในการคัดกรองและประเมินผล ๓) ด้านการส่งเสริมนักเรียน เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย พัฒนานักเรียนตามความต้องการและเหมาะสมกับวัยของนักเรียน ๔) ด้านการป้องกันและแก้ปัญหา กำหนดนโยบายและแต่งตั้งผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการจัดกิจกรรม มีการกำกับ ติดตาม สรุป และรายงานผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และ ๕) ด้านการส่งต่อ กำหนดนโยบายที่ชัดเจน มีการประสานและส่งต่อข้อมูล ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2).
เมตต์ เมตการุณ์จิต. การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์, 2553.
ชยาภรณ์ ศฤงคารทวีกุล. “การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 2557.
เตรียมศักดิ์ อินอุเทน. ประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต2.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2551.
นริศรา จูแย้ม. “การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดระยอง”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหา. การบริหารการศึกษา.จันทบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรรรณี, 2555.
ผล พรมทอง. “ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนนวมินทราชินูทิป สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4”. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษา. วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2555.
พรชัย เชวงชุติรัตน์. “การปฏิบัติงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหาร ครูที่ปรึกษา และครูแนะแนวในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, 2553.
รองรัตน์ ทองมาลา.“การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามทัศนะของผู้บริหารและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 2558.
วิไล รุ่งโรจน์แสงจินดา. “การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยการใช้หลักจิตวิทยาของโรงเรียนประถมศึกษา เขตบางบอน สังกัดกรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 2556.
สุลาลัย ทองดี. “แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามหลักพรหมวิหาร 4 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช, 2560.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๒. แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒. กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๒ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ๒๕๖๑.