รูปแบบการพัฒนาผู้เรียนตามหลักภาวนา 4 ของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายการศึกษา ที่ 7 ฉวางภูตาปี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2

Main Article Content

ยุพาพรรณ ชูชาติ
พระมหาสุพจน์ สุเมโธ
พระครูพิจิตรศุภการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการพัฒนาผู้เรียน 2) เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาผู้เรียนตามหลักภาวนา 4 และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาผู้เรียนตามหลักภาวนา 4 ของโรงเรียนศูนย์เครือข่ายการศึกษาที่ 7 ฉวางภูตาปี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการศึกษาสภาพปัจจุบัน จำนวน 15 คน สัมภาษณ์เชิงลึกในการร่างรูปแบบ จำนวน 5 คน สนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 8 คน ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพปัจจุบันการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนจากการจัดกิจกรรมตามหลักสูตร และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ส่วนใหญ่ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนสอนครบตามโครงสร้างของหลักสูตรโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ กิจกรรมเสริมหลักสูตรโรงเรียนส่วนใหญ่ดำเนินการจัดกิจกรรมตามนโยบายกำหนดเท่านั้น ทั้งนี้เป็นเพราะในการดำเนินการจัดกิจกรรมในเรื่องนี้ต้องครบตามนโยบาย

  2. รูปแบบการพัฒนาผู้เรียนตามหลักภาวนา 4 ประกอบด้วย

    1) หลักการ เป็นรูปแบบที่เน้นการดำเนินการพัฒนาผู้เรียนโดยการจัดกิจกรรมตามหลักสูตร กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและกิจกรรมเสริมหลักสูตร อย่างมีระบบเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญาและมีความสุข โดยการนำหลักธรรมทางพุทธศาสนา ที่เรียกว่าภาวนา 4 ประกอบด้วย กายภาวนา ศีลภาวนา จิตตภาวนา และปัญญาภาวนา ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ฝึกอบรมพัฒนามนุษย์ ให้เป็นผู้ที่มีความเจริญทั้งทางด้านร่างกาย  สังคม อารมณ์จิตใจและสติปัญญา มีการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน


    2) วัตถุประสงค์ (1) เพื่อนำหลักภาวนา 4 มาพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามเป้าหมายการจัดการศึกษา (2) เพื่อกำหนดกิจกรรมในการพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียน (3) เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณลักษณะตามเป้าหมายการจัดการศึกษา


    3) การดำเนินการของรูปแบบ โดยบูรณาการเข้ากับกิจกรรม (1) กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร (2) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (3) กิจกรรมเสริมหลักสูตร  (4) การติดตามผลและประเมินผล


          4) ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาผู้เรียนตามหลักภาวนา 4 ของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายการศึกษาที่ 7 ฉวางภูตาปี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 พบว่ามีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

กรุงเทพฯ : สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ราชกิจจานุเบกษา.(2542), พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. เล่มที่ 116

ตอนที่ 74 ก, 2542.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนา

เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (2560-2564) กรุงเทพฯ : สำนัก

นายกรัฐมนตรี.

พระครูสมุห์ทิพย์ สิริธมฺโม (การเพียร). (2561). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึง

ประสงค์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระณรงค์เดช อธิมุตฺโต (2560). รูปแบบการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนวิถีพุทธ.

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปฎก (ป.อ.ปยุตฺโต).(2544). พุทธธรรม (ฉบับเดิม). พิมพครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ

: ดวงแกว.

พระปลัดบุญเจิด สุจิตฺโต (สุนทรสุข). (2561). รูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของ

โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาอาจริยพงษ์ คำตั๋น. (2554). การปฏิบัติตนด้านคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึง

ประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตจังหวัดนครปฐม. บัณฑิตวิทยาลัย

: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วาโร เพ็งสวัสดิ. (2553). การวิจัยพัฒนารูปแบบ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร,

(4) 9-10.

สุจิตตรา บัวขันธ์. (2558). รูปแบบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษา

ตอนต้น โรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9 (พิเศษ).