การดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธสู่ความเป็นโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1

Main Article Content

ืnaree thongchim
พระมหาสุพจน์ สุเมโธ
พระครูพิจิตรศุภการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธสู่ความเป็นโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ 2) เพื่อเปรียบเทียบการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธสู่ความเป็นโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธสู่ความเป็นโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ดำเนินการวิจัยด้วยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed methods research)  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาและครูหัวหน้างาน จำนวน 117 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.909 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


             ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธสู่ความเป็นโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านกิจกรรมประจำวันพระ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมวิถีพุทธ ส่วนด้านกายภาพ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) ผลการเปรียบเทียบการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ กับเกณฑ์การประเมินโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ พบว่า มีผลการประเมินในระดับไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ คิดเป็นร้อยละ 61.54 และมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ในระดับ 4-5 คิดเป็นร้อยละ 18.80 3) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธสู่ความเป็นโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ            โดย ผู้บริหาร ควรมีการปรับปรุงด้านกายภาพตามเกณฑ์การประเมินโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ ส่งเสริมให้ครูและนักเรียนใส่เสื้อสีขาว ทำบุญ ใส่บาตร ฟังเทศน์และรับประทานอาหารมังสวิรัติในมื้อกลางวันและให้สวดมนต์แปล รวมทั้งให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการวิถีพุทธทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา โดยผู้บริหารควรเป็นแบบอย่างในการนำครู นักเรียน รักษาศีล 5 ก่อนรับประทานอาหารจะมีการพิจารณาอาหาร ไม่ดัง ไม่หก ไม่เหลือ ส่งเสริมให้มีจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ไม่ดุด่านักเรียน ชื่นชมความดีหน้าเสาธงทุกวัน ควรมีโครงการพระสอนศีลธรรม และมาสอนอย่างสม่ำเสมอ ผู้บริหารควรเป็นแบบอย่างให้ครูและนักเรียนมีสมุดบันทึกความดี

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. “แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ”. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การ รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.). 2546.
_________. “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553”. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์. 2545.
ขวัญมนัส พิศิษฎ์ธรรมากร. การบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพะเยา เขต 2, วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, (ศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 2554. บทคัดย่อ.
เฉลิมรัก สดใส. การส่งเสริมการดำเนินงานจัดการศึกษาโรงเรียนวิถีพุทธโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงาน เขตธนบุรี สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรโรฒ. 2554.
ดวงธิดา ฟูตระกูล. กระบวนการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของนักเรียนโรงเรียนวิถี
พุทธในอำเภอปากพลี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2554.
พระพรหมคุณาภรณ (ป.อ. ปยุตฺโต). “โรงเรียนวิถีพุทธปฏิรูปการศึกษาอย่างบูรณาการ”. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2552.
วรเทพ เวียงแก. ทัศนคติของครูและผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ : ศึกษา
เฉพาะกรณี อำเภอหนองเรือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5. “วารสาร
สถาบันวิจัยญาณสังวร”ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน. 2557.
ศรีสุดา รัตนะ. สภาพปัญหาการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธในจังหวัดตรัง, วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา, 2555, หน้า 89.
สริญญา มาตนอก. ปัญหาและแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา บุรีรัมย์ เขต 3, วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิต วิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์. 2556. บทคัดย่อ.
Krebbs, M. J. 1997. “A case study : Infusing Catholic Values Throughout the Curriculum. Fordham University.” Dissertation Abstracts International. 36.