โรงเรียนผู้สูงอายุ : องค์ประกอบ รูปแบบ การพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมเพื่อการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ

Main Article Content

มงคลกิตติ์ โวหารเสาวภาคย์

บทคัดย่อ

โรงเรียนผู้สูงอายุ : องค์ประกอบ รูปแบบ การพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรม
                          เพื่อการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ
School Elderly : Factors, Models and Curriculums Development
                  and Activities For Elderly Health Promotion.

 มงคลกิตติ์ โวหารเสาวภาคย์, นางจิราภรณ์ คล้อยปาน, นางศิวพร จติกุล*


 


บทคัดย่อ


          การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบ และรูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ 2)พัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมเพื่อการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ และ 3) ประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลหลักสูตรและกิจกรรมเพื่อการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้เรียนสูงอายุโรงเรียนจำนวน 50 คน เครื่องมือทีใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการ แบบสอบถามความคิดเห็น และการสังเกต สัมภาษณ์แบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ E1/E2, ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, P, r และ KR20


          ผลการวิจัย พบว่า


  1. องค์ประกอบ และรูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ

             1.1 องค์ประกอบการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ 1) ด้านสุขภาวะทางกาย (Physical Health) : กายภาวนา คือ ภาวะของบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางวัตถุ หรือทางกายภาพ เพื่อตอบสนองความสุข 2) ด้านสุขภาวะทางสังคม (Social Health) : สีลภาวนา คือ ความรู้สึก ความสะดวก ปลอดภัยในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในครอบครัว และในสังคมที่ไม่มีการเบียดเบียน ทำร้ายซึ่งกันและกัน 3) ด้านสุขภาวะทางจิต (Mental Health) : จิตภาวนา คือ การมีส่วนประกอบทางด้านคุณธรรม ความดีงามภายในจิตใจ รวมทั้งการมีสภาวะแห่งจิตใจที่มีความสำราญ แช่มชื่น ไม่ขุ่นมัว และ 4) ด้านสุขภาวะทางปัญญา (Intellectual Health) : ปัญญาภาวนา คือ การมีสติปัญญา ความเชื่อ ความรู้ ความเห็น ความเข้าใจชีวิตและโลกอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง


             1.2 รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ 1) ด้านกายภาวนา คือ รูปแบบในการเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ทางกาย : ภาวิตกายบุคคล 2) ด้านสีลภาวนา คือ รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตและการเรียนรู้ : ภาวิตสีลบุคคล 3) ด้านจิตภาวนา คือ รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับปัญหา : ภาวิตจิตบุคคล และ 4) ด้านปัญญาภาวนา คือ รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะ และการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับจิตใจและปัญญา : ภาวิตปัญญาบุคคล


  1. การพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมเพื่อการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุ หลักสูตรและกิจกรรมเพื่อการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ในการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีคุณค่า เพื่อส่งเสริมสุขภาพป้องกันการเจ็บป่วย และดูแลตนเองเบื้องต้น เข้าถึงข่าวสารและสื่อต่างๆ ได้ สามารถปรับตัวทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก และดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

  2. การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลหลักสูตรและกิจกรรมเพื่อการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุ 1) ผลการประเมินประสิทธิภาพหลักสูตรและกิจกรรมเพื่อการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุ ประสิทธิภาพโดยรวม E1/E2 = 81.35/80.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แสดงว่าหลักสูตรและกิจกรรมเพื่อการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุ มีประสิทธิภาพ 2) ผลการประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรและกิจกรรมเพื่อการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุ ด้านหลักสูตร เกี่ยวกับเนื้อหาหลักสูตร เนื้อหารายวิชา การวัดและประเมินผล และเกี่ยวกับการเรียนรู้ตลอดหลักสูตรได้พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียนสูงอายุ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านกิจกรรม เกี่ยวกับการจัดกิจกรรม ครูผู้สอน/วิทยากร สิ่งสนับสนุนการจัดกิจกรรม และกิจกรรมตลอดหลักสูตรได้พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียนสูงอายุ โดยรวม อยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ   โรงเรียนผู้สูงอายุ, องค์ประกอบ, รูปแบบ, การพัฒนาหลักสูตร, สุขภาวะ


 


* สาขาวิชาสังคมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา


 

Article Details

บท
Research Articles

References

รายงานวิจัย