การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อแอพลิเคชั่นสำหรับครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 2

Main Article Content

สุภาพร ดำอุไร
มะลิวัลย์ โยธารักษ์
วันฉัตร ทิพย์มาศ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2   2) พัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อแอพลิเคชั่นสำหรับครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 และ 3) นำเสนอการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อแอพลิเคชั่นสำหรับครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2  เป็นกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 15 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ  และการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อแอพลิเคชั่นสำหรับครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 โดยการสนทนากลุ่มได้จากการเลือกแบบเจาะจง 7 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบภาษาอังกฤษ และครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสัมภาษณ์สนทนากลุ่ม


 


             ผลการวิจัย พบว่า


  1. ผลการศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 พบว่า ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ  ทั้ง 4 ทักษะ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ซึ่งโรงเรียนส่วนใหญ่มีกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ 2W3P, Pre-While-Post, Bottom up และใช้สื่อ Interactive software ซึ่งเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เป็นแบบเก่า ไม่มีความหลากหลาย ไม่น่าสนใจ และเน้นตัวครูผู้สอนเป็นสำคัญ

  2. ผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อแอพลิเคชั่นสำหรับครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ประกอบด้วย 1) วางแผน; ประชุมชี้แจงจัดวางบุคลากร แต่งตั้งคณะทำงานที่รับผิดชอบ ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรและเอกสารที่เกี่ยวข้อง และตรียมความพร้อม  2) พัฒนาบุคลากร; การใช้เทคโนโลยี และการใช้สื่อแอพลิเคชั่น    3) นิเทศติดตาม; ส่งเสริมสนับสนุน กำกับติดตาม และแก้ปัญหา และ 4) การให้ข้อมูลย้อนกลับ; วัดผลและประเมินผล ซึ่งการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อแอพลิเคชั่นสำหรับครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 พบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่มีความสนใจแนวทางการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อแอพลิเคชั่น เพราะมีการใช้สื่อที่ทันสมัย มีความหลากหลาย สามารถเอื้ออำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้แก่ครูผู้สอน  ผู้เรียนจะรู้สึกเพลิดเพลิน ไม่เกิดความเบื่อหน่าย และมีเจตคติที่ดีที่จะเรียนรู้ภาษาอังกฤษ

  3. ผลการนำเสนอการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อแอพลิเคชั่นสำหรับครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 พบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อแอพลิเคชั่น เพราะมีความเหมาะสม ทันสมัย และครูผู้สอนสามารถนำแนวทางนี้ไปสู่การปฏิบัติในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่มีคุณภาพได้จริง

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

มะลิวัลย์ โยธารักษ์, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 2

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

นครศรีธรรมราช เขต 2

วันฉัตร ทิพย์มาศ , วิทยาลัยเทคโนโลยีทักษิณอาชีวศึกษา

วิทยาลัยเทคโนโลยีทักษิณอาชีวศึกษา

Vocational Technology Thaksin College

References

กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2561.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย, 2561.
________. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2561.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย, 2561.
________.แนวปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร : จามจุรีโปรดักส์ จำกัด, 2557.
เกริก ท่วมกลาง และจินตนา ท่วมกลาง. การพัฒนาสื่อนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อเลื่อนวิทย-ฐานะ. กรุงเทพมหานคร: สถาพรบุ๊ค, 2551.
ณัฐพร เห็นเจริญเลิศ และคณะ. ขอบแดนใหม่แห่งการเรียนรู้: การศึกษาระบบ 4.0. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559.
ฐิติยา เรือนนะการ. “การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในโรงเรียนมาตรฐานสากล”, วารสารวิชาการ ศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินรวิโรฒ, ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559).
ทิพาชา นวลหลง. “สภาพและปัญหาในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 เครือข่ายกลุ่มโรงเรียนดาราราชวิทย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1” บทความวิชาการ: มหาวิทยลัยราชภัฏภาคเหนือ, ครั้งที่ 15 (2557).
ปวีณนุช พุ่มจิตและอังค์วรา เหลืองนภา. “การใช้แอพลิเคชั่นในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษด้านการฟัง”. วารสาร: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, ปีที่ 1 ฉบับที่ 1, (มกราคม 2561).
พรชัย เจดามานและคณะ. ยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อการบริหารจัดการสู่การเปลี่ยนผ่านศตวรรษที่ 21: ไทยแลนด์ 4.0. บทความจากวารสารหลักสูตรและการเรียนการสอนคณะครุศาสตร์, ปีที่ 2 ฉบับที่ 1, (กรกฎาคม, 2559).
วิลดา ศรีทองกุล. “การพัฒนาทักษะการฟัง-พูดในวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ โดยใช้แอพลิเคชั่น Echo English”. บทความวิชาการ: มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี, ปีที่ 2 ฉบับวันที่ 3, (กันยายน-ธันวาคม, 2562).
สมบัติ คชสิทธิ์, “การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้กับผู้เรียนยุค Thailand 4.0”, วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), ปีที่ 7 ฉบับที่ 2, (พฤษภาคม-สิงหาคม 2560).
อิชยา กองไชย. “การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเครือข่ายอุเทน โนนตาล อำเภอ ท่าอุเทน จังหวัดนครพนม”.วารสารการบริหารการนิเทศการศึกษา: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ปีที่ 8 ฉบับที่ 3, (กันยายน-ธันวาคม, 2560).