รูปแบบการส่งเสริมการอนุรักษ์พุทธศิลป์ของอุโบสถในจังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
พื้นที่เป้าหมายโดยเฉพาะอุโบสถ ย่อมมีความสำคัญต่อชุมชนอย่างยิ่งในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา แต่มีสิ่งหนึ่งที่ประดับตกแต่งให้เข้ากับเรื่องราวในพระพุทธศาสนา คือพุทธศิลป์ของโบสถ์ที่จะส่งเสริมให้เกิดความเชื่อ ความศรัทธา วิจิตรตระการงดงามทางด้านจิตใจ
สภาพปัญหาสำคัญของพุทธศิลป์ของอุโบสถคือ งานช่างที่มีรูปแบบที่หลากหลาย และไม่สามารถที่จะอนุรักษ์แบบพุทธศิลป์ดั้งเดิมได้ มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ทั้งยังไม่มีคนสืบทอด ความสำคัญของพุทธศิลป์ของอุโบสถในจังหวัดนครราชสีมา พุทธศิลป์ของโบสถ์ที่ปรากฏมีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับความเชื่อ ความศรัทธาและประวัติเรื่องราวของพุทธศิลป์ที่นำมาประดับในโบสถ์หรือสร้างสรรค์จะต้องไม่ผิดเพี้ยนและสามารถพัฒนารูปแบบไปสู่โบสถ์อื่นๆได้ ความสำคัญจึงอยู่ที่การกำหนดรูปแบบพุทธศิลป์ทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรมก็เป็นสิ่งหนึ่ง ในพุทธศิลป์นี้จะมีร่องรอยทางประวัติศาสตร์ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิด ความเชื่อของบุคคลในท้องถิ่นนั้นๆในแต่ละยุคแต่ละสมัย
การอนุรักษ์พุทธศิลป์ของอุโบสถในจังหวัดนครราชสีมา พุทธศิลป์จำแนกประเภทใหญ่ๆ ก็จะแบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่ สถาปัตยกรรม ประติมากรรมและจิตรกรรม งานด้านพุทธศิลป์นั้นคำว่าศิลป์เป็นศิลปกรรมที่เกิดขึ้นตามคติความเชื่อความศรัทธาในศาสนา อิทธิพลคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งศิลปะที่สำคัญได้แก่ สถาปัตยกรรม ประติมากรรมและจิตรกรรม การอนุรักษ์พุทธศิลป์ที่ปรากฏในโบสถ์ คือ พุทธศิลป์ที่มีลักษณะความสำคัญด้านจิตรกรรม ทำให้เห็นคุณค่า ด้านพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะได้สะท้อนคำสอนออกมาที่สอดคล้องกับหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา จิตรกรรมส่วนมาก จะอธิบายภาพประวัติศาสตร์โดยเฉพาะอธิบายการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ ที่ได้สั่งสมบารมี จนกว่าจะเป็นพระพุทธเจ้า เป็นพุทธศิลป์ลักษณะ ที่ให้คุณค่า ทางด้านจิตใจมากกว่าสังคม
รูปแบบการส่งเสริมการอนุรักษ์พุทธศิลป์ของอุโบสถในจังหวัดนครราชสีมา พบว่ารูปแบบขึ้นอยู่กับ 1) รูปแบบการก่อสร้าง 2) ความเชื่อเกี่ยวกับสถานที่ ในการก่อสร้าง 3) ความเชื่อเกี่ยวกับวัสดุในการก่อสร้าง 4) ความเชื่อเกี่ยวกับการตกแต่ง คือ เพื่อความสวยงาม เพื่อป้องกันภัยอันตราย จากสิ่งที่มองไม่เห็น
Article Details
References
จารุวรรณ พึ่งเทียร. (2555), พุทธศิลป์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย,
จุลทรรศน์ พยัคฆรานนท์. 2555.อ้างใน จารุวรรณ พึ่งเทียร. พุทธศิลป์. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
น. ณ ปากน้ำ. (2540). พจนานุกรมศิลปะไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพ.
พ่วง มีนอก. (2536). สุนทรียศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พระธรรมธีรราชมหามุนี. (2514). ความรู้เรื่องสีมาในวัดศรีประวัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
พระจันทร์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์.
พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิกจำกัด.
พระวิจิตตาลังการเถระ. (2472). ปาติโมกขปทัตถอนุวัณณนา. ย่างกุ้ง: โรงพิมพ์บี่จีมัณไฑย์ ประเทศสหภาพพม่า.
พระพิมลธรรม (ชอบ อนุจารี) ราชบัณฑิต. (2553). พุทธประวัติทัศนศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: กรีนพริ้นท์.
พุทธทาสภิกขุ. 2552. พุทธประวัติจากหินสลัก. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง
จำกัด.
บุญเยี่ยม แย้มเมือง. (2537). สุนทรียภาพทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ: โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
ประกิจ ลัคนผจง. (2543). “สถาปัตยกรรมไทย คุณค่าสู่สังคม”. จุลสารสถาบันศิลปะ สถาปัตยกรรมไทย.
ปฐม หงส์สุวรรณ. (2552). “ตำนานพระพุทธรูปล้านนา:พลังปัญญาทางความเชื่อและ ความสัมพันธ์กับ ท้องถิ่น”. รายงานวิจัย. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อภัย นาคคง, (2533). ความรู้เบื้องต้นวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ. กรุงเทพฯ:ท.วัฒนาการพิมพ์.