ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ หน่วยการเรียนรู้การออกแบบกราฟิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

นฤมล มิ่งขวัญ
ลักขณา สุกใส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ หน่วยการเรียนรู้การออกแบบกราฟิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนโดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ หน่วยการเรียนรู้ การออกแบบกราฟิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เปรียบเทียบความสามารถในความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ก่อนและหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ การออกแบบกราฟิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนภูแลนคาวิทยายน จำนวน 30 คน โดยวิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ 3) แบบวัดความสามารถ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เป็นแบบอัตนัย จำนวน 2 ข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent sample) ผลการวิจัย พบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ หน่วยการเรียนรู้การออกแบบกราฟิก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.89/86.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ หน่วยการเรียนรู้การออกแบบกราฟิก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05    3) ความสามารถในความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ หน่วยการเรียนรู้ การออกแบบกราฟิกหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05   

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

ลักขณา สุกใส, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

References

ชวลิต ชูกำแพง, (2551), การประเมินการเรียนรู้, พิมพ์ครั้งที่ 2, พิมพ์ลักษณ์ : มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด, (2553), การวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 8, กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.

วีณา ประชากูลและประสาท เนืองเฉลิม, (2554), รูปแบบการเรียนการสอน, พิมพ์ลักษณ์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วีรพรรณ จันทร์ขาว, (2561), ประสิทธิผลของการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนที่มีต่อความสามารถในการวายน้ำ, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิวกานท์ ปทุมสูติ, (2548), การเขียนสร้างสรรค์ไม่ยากอะไรเลย, กรุงเทพฯ:พิมพ์ลักษณ์.

สัญญา ภัทรากร. (2552). ผลการจัดการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวาที่มีผลต่อความสามารถ ในการ

แก้ไขปัญ หาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่องความน่าจะเป็น. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรศิริ เลิศกิตติสุขและดวงกล ลิมโกมุท (2552), แผนการสอนที่ใช้การจัดการเรียนรู้แบบ

เพื่อนช่วยเพื่อน, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Wallach, Michael A. and kogan Nathan. (1965). Model of Thinking in Young Children.New York : Holt, Rinehartandwinston. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2563, จาก http://www.nana-bio.com/Research/image%20research/research%20work/ceative%20thinking/creative%20thinking01.html