รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนการกุศล ของวัดในพระพุทธศาสนา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาสภาพการบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ๒) ศึกษารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ๓) นำเสนอรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน ๑๐ คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๗ คน สนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๗ คน
ผลการวิจัยพบว่า :
๑. สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ ๗ ด้าน คือ ๑) ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร ๒) ด้านการจัดการเรียนรู้ ๓) ด้านการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ ๔) ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ๕) ด้านการวัดประเมินผล ๖) ด้านการนิเทศการศึกษา และ ๗) ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน
๒. รูปแบบการบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ประกอบด้วย ๗ องค์ประกอบ ดังนี้ ๑. ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร ประกอบด้วย ๑) ศึกษาเอกสารหลักสูตร ๒) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมและประเมินสภาพสถานศึกษา ๓) จัดทำโครงสร้างหลักสูตร ๔) นำหลักสูตรไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ๕) นิเทศการใช้หลักสูตร ๖) ติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร ๗) ปรับปรุงหลักสูตร ๒. ด้านการจัดการเรียนรู้ ผู้บริหารควรส่งเสริมสนับสนุนผู้สอนดังนี้ ๑) การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ๒) การจัดกระบวนการเรียนรู้ ๓) นิเทศติดตามการเรียนการสอน ๔) ส่งเสริมการพัฒนาตนเอง ๓. ด้านการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ มีกระบวนการดังนี้ ๑) วิเคราะห์ ความจำเป็นในการใช้สื่อ ๒) ส่งเสริมการพัฒนาสื่อ ๓) จัดหาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน ๔) ประสานความร่วมมือ ๕) การประเมินผลการใช้สื่อ ๔. ด้านแหล่งเรียนรู้ ดำเนินการดังนี้ ๑) สำรวจแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา ๒) จัดทำทะเบียนแหล่งการเรียนรู้ ๓) จัดตั้งและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ๔) สนับสนุนการใช้แหล่งการเรียนรู้ ๕. ด้านการวัดประเมินผล ดำเนินการดังนี้ ๑) กำหนดระเบียบการวัดผล และประเมินผลการศึกษา ๒) สนับสนุนการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผล ๓) ดำเนินการวัดผล และประเมินผลตามแผน ๔) พัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลให้ได้มาตรฐาน ๖. ด้านการนิเทศการศึกษา ดำเนินการดังนี้ ๑) วางแผนการนิเทศ ๒) นิเทศงานวิชาการตามแผน ๓) ประเมินผลการนิเทศ ๔) ประสานงานกับหน่วยงานต้นสังกัด ๕) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนิเทศการสอน ๗. ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน ดำเนินการดังนี้ ๑) จัดระบบโครงสร้างองค์กร ๒) กำหนดเกณฑ์การประเมินและเป้าหมาย ๓) วางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ๔) ดำเนินการพัฒนางานตามแผนและติดตามตรวจสอบ ๕) ประสานความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา ๖) ประสานงานกับเขตพื้นที่การศึกษา ๗) ประสานงานกับหน่วยงานประเมินคุณภาพภายนอก
๓. ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจสอบรูปแบบการบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า มีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ได้
Article Details
References
(กรุงเทพมหานคร : สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, ๒๕๖๐), หน้า ๗๕.
ปริชาติ ชมชื่น , “รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีประสิทธิผลในสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการ
บริหารการศึกษา,(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี,๒๕๕๕).บทคัดย่อ
เพชรนิ สงค์ประเสริฐ, “การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน”, วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย
นเรศวร, ๒๕๕๑).บทคัดย่อ
ศิริกุล นามศิริ. “การพัฒนางานวิชาการด้วยหลักการบูรณาการในโรงเรียนขนาดเล็ก: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ
แบบมีส่วนร่วม”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น,๒๕๕๒).
รุ่งโรจน์ ศิริพันธ์. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนา.วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาพุทธ
ศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย, ๒๕๕๗).
เพชรนิ สงค์ประเสริฐ, “การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน”, วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย
นเรศวร, ๒๕๕๑).
คัมภีร์ สุดแท้. “การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก”.วิทยานิพนธ์ดุษฎี
บัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม,๒๕๕๒.
ศิริกุล นามศิริ. “การพัฒนางานวิชาการด้วยหลักการบูรณาการในโรงเรียนขนาดเล็ก: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ
แบบมีส่วนร่วม”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น,๒๕๕๒).บทคัดย่อ
สุกัญญา จัตุรงค์และอภิชาต เลนะนันท์, การบริหารหลักสูตรที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน โรงเรียนสังกัด
สำนักบริหารงาน การศึกษาพิเศษภาคใต้ กลุ่ม ๗, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรบัณฑิต,(กรุงเทพมหานครฯ
: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, ๒๕๕๙), หน้า ๘๐.
คัมภีร์ สุดแท้. “การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก”.วิทยานิพนธ์ดุษฎี
บัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม,๒๕๕๒.