รูปแบบการบริหารหลักสูตรเพื่อพัฒนาการสอนภาษาอังกฤษในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๑

Main Article Content

พรทิพย์ บัวเพ็ชร
มะลิวัลย์ โยธารักษ์
บุญเลิศ วีระพรกานต์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพรูปแบบการบริหารหลักสูตรเพื่อพัฒนาการสอนภาษาอังกฤษ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารหลักสูตรเพื่อพัฒนาการสอนภาษาอังกฤษ 3) เพื่อนำเสนอการบริหารหลักสูตรเพื่อพัฒนาการสอนภาษาอังกฤษ ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการศึกษาสภาพปัจจุบัน จำนวน 10 คน สัมภาษณ์เชิงลึกในการร่างรูปแบบ จำนวน 3 ท่าน สนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารหลักสูตรเพื่อพัฒนาการสอนภาษาอังกฤษในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ได้แก่ 1) สภาพปัจจุบันการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาส่วนใหญ่ได้บริหารหลักสูตรเป็นไปตามโครงสร้างของหลักสูตรโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ รวมทั้งกิจกรรมเสริมหลักสูตรเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) รูปแบบการพัฒนาการบริหารหลักสูตรเพื่อพัฒนาการสอนภาษาอังกฤษทั้ง 7 ภาระกิจ โดยรวมพบว่า 1) ด้านการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาได้ตระหนักสร้างความเข้าใจกับบุคลากรของสถานศึกษา เพื่อตระหนักรู้ในการพัฒนาหลักสูตร (2) มีการประมวลหลักสูตรแบบกระทัดรัด ง่าย และเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน (3) การดำเนินการใช้หลักสูตร ได้มีกระบวนการ วิธีการอย่างมีขั้นตอน 4) การบริหารหลักสูตรเป็นไปตามมาตรฐานเหมาะสมกับผู้เรียน 5) การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 6) การสรุปผลการดำเนินงานใช้รูปแบบเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรที่กำหนดไว้ และ 7) การปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารหลักสูตรเป็นไปตามระบบและกลไก PDCA 3) การนำเสนอรูปแบบการบริหารหลักสูตรเพื่อพัฒนาการสอนภาษาอังกฤษ พบว่า มีกระบวนการและวิธีการในการสอนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของรูปแบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยผ่านการกลั่นกลองจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีความเห็นพ้องกันว่า รูปแบบดังกล่าวมีความเหมาะสมเป็นประโยชน์และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะตรงตามเป้าหมายก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการเรียนเพิ่มขึ้นได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

มะลิวัลย์ โยธารักษ์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,ประเทศไทย Mahachulalongkornrajavidyalaya University,Thailand

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,ประเทศไทย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University,Thailand

บุญเลิศ วีระพรกานต์, โรงเรียนวัดขรัวช่วย Karua Chai School

โรงเรียนวัดขรัวช่วย

Karua Chai School

References

ภัทรา สุขนิคม. การศึกษาบทบาทในการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 1 .วิทยานิพนธ์ (การบริหารการศึกษา). พระนครศรีอยุธยา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา. 2553
แสงเดือน เจริญฉิม. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่สร้างเสริมมโนทัศน์การแก้ปัญหาในวิชาฟิสิกส์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย, ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและวิธีสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552.
สุรีรัตน์ คำฝอย. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสามารถในการปฏิบัติงานตามกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา จังหวัดนครนายก. สารนิพนธ์ (การบริหารการศึกษา).กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2556.
อรพิน ไชยโวหาร. สภาพการบริหารจัดการตามหลักสูตรสถานศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 1. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและวิธีสอน. ลำปาง : มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง. ถ่ายเอกสาร. 2552.
Eun, S. Contextual Autonomy in EFL Classrooms: A Critical Review of English. Teaching Methods in South Korea. Dissertation Abstracts International.
Ministry of Education, The basic education core curriculum, Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. (in Thai), 2015.
Chanbanjong, Policies and strategies for the promotion of foreign language instruction in ASEAN+3 countries: a case study of Japan. Bangkok: Office of the Education Council. (in Thai), 2002.
Srisa-ard, B,The basic research process (5th ed.). Bangkok: Suweeriyasan. (in Thai)