ความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่านกระบวนการบุญกิริยาวัตถุของผู้สูงอายุที่มาถือศีลอุโบสถในวัดของพระพุทธศาสนาจังหวัดบุรีรัมย์.

Main Article Content

พระมหาอภิสิทธิ์ วิริโย
ธนันต์ชัย พัฒนะสิงห์
พระสุวิจักขณ์ โชติวโร
พระมหาสมพร อนาลโย
พระมหาเชษฐา ฐานจาโร

บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑)  เพื่อศึกษาความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่านกระบวนการบุญกิริยาวัตถุของผู้สูงอายุที่มาถือศีลอุโบสถในวัดของพระพุทธศาสนาจังหวัดบุรีรัมย์ ๒) เพื่อพัฒนาความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่านกระบวนการบุญกิริยาวัตถุของผู้สูงอายุที่มาถือศีลอุโบสถในวัดของพระพุทธศาสนาจังหวัดบุรีรัมย์และ ๓) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่านกระบวนการบุญกิริยาวัตถุของผู้สูงอายุที่มาถือศีลอุโบสถในวัดของพระพุทธศาสนาจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีขั้นตอนคือ  (๑) กำหนดประเด็นในการค้นคว้าให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยและปัญหาการวิจัยที่ต้องการทราบ  (๒)  กำหนดฐานข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา  อันประกอบด้วยฐานข้อมูลที่ได้จากแหล่งปฐมภูมิ (Primary Source)  คือ  คัมภีร์พระไตรปิฎก  อรรถกถาหรือฎีกา  ชั้นรองลงมา  และแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ  (Secondary Source) ได้แก่  หนังสือเอกสาร บทความวิทยานิพนธ์และสารบรรณอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  (๓)  สังเคราะห์ข้อมูล โดยการลดทอนข้อมูล เลือกหาจุดที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ต้องการศึกษาเท่านั้น  ตรวจสอบข้อมูลให้มีความถูกต้อง  จากข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งต่างๆ ซึ่งจะดำเนินการ เก็บรวบรวมข้อมูลในประเด็นเดียวกัน  แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ใหม่จากการกลั่นกรองจัดระบบข้อมูล  ด้วยการจำแนก  และแปลความโดยวิเคราะห์ผลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นสำคัญเพื่อให้ได้ความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่านกระบวนการบุญกิริยาวัตถุของผู้สูงอายุที่มาถือศีลอุโบสถในวัดของพระพุทธศาสนาจังหวัดบุรีรัมย์โดยในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ออกแบบด้วยวิธีวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Methods Research) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


ปัจจัยที่มีผลต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุในจังหวัดบุรีรัมย์ มี ๒ ปัจจัย คือ ๑) ปัจจัยด้านความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ๑.๑) ความรู้สึกต่อชีวิต คู่ชีวิต บุตรหลานหรือบุคคลสำคัญของชีวิต ๑.๒) ความผาสุกในสิ่งที่เป็นปัจจุบัน  และ ๑.๓)ความผาสุกในการมีศาสนายึดมั่น และ ๒) ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว ประกอบด้วย ๒.๑)การใช้เวลาในการทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว ๒.๒) การพูดคุย ปรึกษาหารือ และตัดสินใจในเรื่องสำคัญต่างๆ ของสมาชิกในครอบครัว ๒.๓) การแสดงออกซึ่งความรักและความเอื้ออาทรกัน ทั้งทางกาย วาจา และใจของสมาชิกในครอบครัว ๒.๔) การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ที่เหมาะสมของสมาชิกในครอบครัว และ ๒.๕) ความสัมพันธ์กับเพื่อน


พัฒนาความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่านกระบวนการบุญกิริยาวัตถุของผู้สูงอายุที่มาถือศีลอุโบสถในวัดของพระพุทธศาสนาจังหวัดบุรีรัมย์ จากการสังเคราะห์เป็นกิจกรรมพัฒนาความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่านกระบวนการบุญกิริยาวัตถุของผู้สูงอายุที่มาถือศีลอุโบสถในวัดของพระพุทธศาสนาจังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า


ด้านที่ ๑ ด้านทานคือกิจกรรมตักบาตรให้ทาน สมาทานรักษาศีลใช้เวลา ๑.๓๐ ชม.ลักษณะกิจกรรม -แต่งกายด้วยชุดขาวที่ถูกสุขลักษณะ -มีอาหารที่สะอาดถูกสุขอนามัย -ยืนเรียงแถวอย่างสวยงามตักบาตรพระสงฆ์ -สมาทานศีล อยู่ในกฎระเบียบของโครงการ วัตถุประสงค์กิจกรรมได้ทำบุญรักษาศีลทำให้รู้จักการให้ เสียสละ ผลที่ได้จากกิจกรรม รู้จักกฎระเบียบในสังคมและยอมรับกฎเกณฑ์ของสังคม


ด้านที่ ๒ ด้านกิจกรรมพัฒนาความคิด ปรับการพูด เปลี่ยนการกระทำ ใช้เวลา๓๐ นาที ลักษณะกิจกรรม พระวิทยาการให้หลักการเกี่ยวกับพัฒนาความคิด ปรับการพูด เปลี่ยนการกระทำ วัตถุประสงค์กิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจและมีเจตคติที่ดีต่อการคิดดี พูดดี ทำดี ผลที่ได้จากกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาความคิด ปรับการพูด เปลี่ยนการกระทำ


ด้านที่ ๓ ด้านภาวนา ๑) กิจกรรมฉันคือใคร ใช้เวลา ๒ ชม. ลักษณะกิจกรรมการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ที่ผู้สูงมี ว่าในชีวิตมีใครบ้างที่อยู่รอบๆ ตัวเช่น เพื่อน ญาติ พี่น้อง หรือคนในครอบครัว – เล่าให้เพื่อนฟัง – สรุปร่วมกัน วัตถุประสงค์กิจกรรมมีความเข้าใจตนเองและเข้าใจผู้อื่น ผลที่ได้จากกิจกรรมมีความเข้าใจตนและรู้จักเข้าสังคมกับเพื่อนและญาติมิตร ๒) กิจกรรมเข้าใจตน เข้าใจธรรมใช้เวลา ๑ ชม. ลักษณะกิจกรรม พระวิทยากรสอนธรรมเกี่ยวกับหลักการใช้สติและการรู้จักใช้ชีวิต มีการเข้าใจตนเอง วัตถุประสงค์กิจกรรมเข้าใจคนอื่น มีหลักการใช้สติในการดำเนินชีวิต ผลที่ได้จากกิจกรรมรู้จักใช้สติในการดำเนินชีวิต ๓) กิจกรรมปฏิบัติธรรมใต้แสงเทียน ใช้เวลา ๑ ชม.ลักษณะกิจกรรมสวดมนต์ทำวัตรใต้แสงเทียน วัตถุประสงค์กิจกรรมมีความสุข สงบ เย็น         รู้ผลที่ได้จากกิจกรรมจักหลักธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาและการเข้าใจชีวิต


ระดับความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่านกระบวนการบุญกิริยาวัตถุของผู้สูงอายุที่มาถือศีลอุโบสถในวัดของพระพุทธศาสนาจังหวัดบุรีรัมย์  ที่ตอบแบบสอบถาม โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมาก ( = ๔.๓๕)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีระดับค่าเฉลี่ยระดับสูงสุด มี ๒ ด้าน คือ ด้านที่ ๑ ความรู้สึกต่อชีวิต คู่ชีวิต บุตรหลานหรือบุคคลสำคัญของชีวิต และด้านที่ ๓ ความผาสุกในการมีศาสนายึดมั่น หมายถึง ความสุกที่มีเกิดจากการปฏิบัติตามคำสอนของศาสนา ( = ๔.๓๕)  และด้านที่มีระดับค่าเฉลี่ยระดับต่ำสุด คือ ด้านที่ ๒ ความผาสุกในสิ่งที่เป็นปัจจุบัน หมายถึง ความผาสุกในปัจจุบันที่เป็นอยู่ ( = ๔.๓๔)

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ธนันต์ชัย พัฒนะสิงห์, วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ประเทศไทย Buriram Budhist College Mahaculalongkornrajavidyalaya University, Thailand

วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ประเทศไทย

Buriram Budhist College  Mahaculalongkornrajavidyalaya University, Thailand

พระสุวิจักขณ์ โชติวโร, วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ประเทศไทย Buriram Budhist College Mahaculalongkornrajavidyalaya University, Thailand

วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ประเทศไทย

Buriram Budhist College  Mahaculalongkornrajavidyalaya University, Thailand

พระมหาสมพร อนาลโย, วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ประเทศไทย Buriram Budhist College Mahaculalongkornrajavidyalaya University, Thailand

วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ประเทศไทย

Buriram Budhist College  Mahaculalongkornrajavidyalaya University, Thailand

พระมหาเชษฐา ฐานจาโร, วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ประเทศไทย Buriram Budhist College Mahaculalongkornrajavidyalaya University, Thailand

วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ประเทศไทย

Buriram Budhist College  Mahaculalongkornrajavidyalaya University, Thailand

References

กนิษฐา ลิ้มทรัพย์. (2557). “การตระหนักรู้ในตนเอง การมองโลกในแง่ดี ความพึงพอใจในชีวิต และความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุในศูนย์บริการผู้สูงอายุดินแดง เขตดิน แดงกรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นงเยาว์ กันทะมูล. (2546). ความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุโรคมะเร็งปอด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระพรหมคุณาภรณ์ ( ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). ธรรมะสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสภา.
ภิรมย์ เจริญผล. (2553). “ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษา ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ จังหวัดนครปฐม”.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์. (2543). “ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัวภาวะ สุขภาพการปฏิบัติธรรมกับความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ”. วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.