ธุรกิจการศึกษาในมุมมองพุทธจริยศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดธุรกิจการศึกษา 2) เพื่อศึกษาปัญหาข้อถกเถียงทางจริยศาสตร์ในการจัดธุรกิจการศึกษาและ 3) เพื่อวิเคราะห์ธุรกิจการศึกษาในมุมมองพุทธจริยศาสตร์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร
การวิจัยนี้ได้ศึกษาประเด็นปัญหาเกี่ยวกับธุรกิจการศึกษาใน 2 ประเภท คือ อาคาริยะ (servile arts) และอนาคาริยะ (liberal arts) การศึกษาแรกเป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะ ส่วนการศึกษาที่สองเป็นการศึกษามุ่งเน้นการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในงานวิจัยนี้พบข้อถกเถียง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ถือว่าธุรกิจการศึกษาของทั้งสองประเภทเป็นการกระทำที่สมควรเพราะเป็นสิทธิและกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับธุรกิจการศึกษาโดยให้เหตุผลว่ามันเป็นละเมิดสิทธิที่จะได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม โดยได้พิจารณาประเด็นข้อถกเถียงของทั้งสองกลุ่มข้างต้นแล้วให้เหตุผลตามมุมมองของพุทธจริยศาสตร์ว่า พุทธจริยศาสตร์เห็นด้วยกับการทำธุรกิจการศึกษาทั้งสองประเภท ตราบเท่าที่ธุรกิจการศึกษานั้นไม่ขัดต่อหลักพุทธจริยศาสตร์ เช่นหลักสัมมาอาชีวะ หลักไตรสิกขา หลักกุศล-อกุศล หลักอาทีนวะและหลักมหา ปเทส 4 เป็นต้น เมื่อมีการทำธุรกิจการศึกษาตามหลักพุทธจริยศาสตร์ข้อคัดค้านของกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยบนเหตุผลที่ว่าจะเป็นการละเมิดสิทธิที่จะได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมจะได้รับการแก้ไข
Article Details
References
กรมการศึกษานอกโรงเรียน. (2538), การศึกษาตลอดชีวิตการศึกษาของคนไทยในยุคโลกาภิ
วัตน์. กรุงเทพฯ : กรมการศึกษานอกโรงเรียน
กรองแก้ว อยู่สุขและพิมพา สรายุทธ. (2532), ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจ.กรุงเทพฯ:ประยูร
วงศ์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2552), การศึกษาทั่วไปเพื่อพัฒนามนุษย์. กรุงเทพฯ :
ศูนย์บริหารจัดการวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
______.(2551), ศิลปศาสตร์แนวพุทธ, พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.
ฟริตจ็อฟ คาปร้า.(2554), จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ เล่ม 1.แปลโดยพระประชา ปสนฺนธมฺโม
และคณะ, พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสำนักงานปลัดกระทรวง
ศึกษาธิการ, (2551), เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน
กศน : คัมภีร์ กศน..กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,(2560), แผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ : สำนักงาน
คณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อาชัญญา รัตนอุบล. (2562), การส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในสังคมไทย.
กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุรวดี รุจิเกียรติกำจ. (2535), ปรัชญาการศึกษาเบื้องต้น. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Carr, Albert Z. (1968), “IS Business Bluffing Ethical?” Harvard Business Review.
Harvard University Press.
Laura Hartman.(1998), Perspective in Business Ethics, International Edition.
Singapore : McGraw-Hill.