รูปแบบการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานของวัดและชุมชนในประเทศไทย ด้วยกระบวนการทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยี

Main Article Content

พระมหาฉัตรเทพ พุทฺธชาโต

บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ  (1) เพื่อศึกษากระบวนการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานของวัด ชุมชนและสถานศึกษาของประเทศไทย (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานของวัดและชุมชนในประเทศไทย ด้วยกระบวนการทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยี (3) เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานของวัดและชุมชนในประเทศไทยด้วยกระบวนการทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร เชิงคุณภาพและเชิงปฏิบัติการแบบ List Model โดยเริ่มที่ ศึกษาเอกสารงานและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างแบบสัมภาษณ์เชิงลึกในภาคสนามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 25 รูป/คน ที่เกี่ยวข้องด้านการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานในวัด ชุมชนและสถานศึกษา จำนวนรวม 8 แห่ง การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า


1.กระบวนการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานของวัด ชุมชนและสถานศึกษาของประเทศไทย มี 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 ก่อนการอนุรักษ์ ได้แก่ การสร้างศรัทธา การจัดระบบองค์กรทำงาน การอบรมบุคลากรและการจัดการประเพณีเชิงพุทธ ขั้นที่ 2 ขั้นปฏิบัติการอนุรักษ์  สำรวจ ทำความสะอาด จัดหมวดหมู ลงทะเบียน ถ่ายดิจิทัล ทำทะเบียน ห่อผ้าคัมภีร์ ติดป้ายรหัสคัมภีร์ ขั้นที่ 3 ขั้นสร้างความยั่งยืนในการอนุรักษ์ ได้แก่ การทำแหล่งเรียนรู้ การเผยแพร่ การสร้างเครือข่า การจัดระบบยกย่อง การประเมินผล


2.รูปแบบการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานของวัดและชุมชนในประเทศไทยด้วยกระบวนการทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยีมี 5ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่1การสร้างศรัทธา ถ่ายทอดชุดความเชื่อให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานอย่างถูกต้องทั้งทางโลกและทางธรรม ขั้นที่ 2 การจัดระบบข้อมูลและกระบวนการทำงาน (ศีล) คือ จัดทำแผน และอบรมบุคลากรอนุรักษ์คัมภีร์ ขั้นที่ 3 การปฏิบัติการอนุรักษ์ (สมาธิ) การจัดการประเพณีเชิงพุทธ เริ่มอนุรักษ์ตามกระบวนการเทคโนโลยี บันทึกภาพสภาพของคัมภีร์ใบลานก่อนการสำรวจทำความสะอาดที่เก็บคัมภีร์ สำรวจ สภาพและคัดแยก คัมภีร์ จัดเรียงใบลานให้สมบูรณ์ ทำความสะอาดคัมภีร์ จัดหมวดหมู่ ลงทะเบียน ถ่ายดิจิทัลคัมภีร์ ทำทะเบียน ห่อผ้าและติดป้ายรหัสคัมภีร์ มีพิธีงานบุญในการอัญเชิญเก็บคัมภีร์ ขั้นที่ 4 การพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ (ปัญญา)และขั้นที่ 5 การแผ่ขยายสู่ความยั่งยืน (เมตตา) คือ มีการเผยแพร่ บริการองค์ความรู้ การสร้างเครือข่าย การจัดระบบยกย่อง การประเมินผล มีระบบการสร้างธัมมทายาท มีการจัดงานบุญของชุมชนด้านการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน เพื่อให้ชุมชนมีศรัทธาย่างยั่งยืนในการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน


  1. แนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานของวัดและชุมชนในประเทศไทยด้วยกระบวนการทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยี มี 5 วิธีการสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน คือ ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU เชิญเป็นกรรมการ สมัครเป็นสมาชิกเครือข่าย ร่วมกลุ่มตั้งเครือข่ายเองและเครือข่ายส่วนตัวและมี 17 วิธีการรักษาเครือข่ายให้อยู่อย่างยั่งยืน คือ มีการร่วมงานระหว่างเครือข่าย มีการรักษาสัมพันธภาพทีดี มีการจัดงานร่วมกัน มีการแบ่งบทบาทในการพัฒนา มีการจัดสรรผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม  มีการกำหนดแผนและมาตรฐานการทำงานร่วมกัน มีระบบสร้างแรงจูงใจ มีระบบการยกย่องบุคลากรในเครือข่าย มีการสร้างผู้สืบทอดเครือข่าย มีการจัดระบบการบริหาร มีศูนย์ประสานและมีผู้ประสานงานเครือข่าย มีงบประมาณที่กิจกรรมเครือข่าย และ มีการติดตามประเมินผลสรุปผลงานร่วมกัน

Article Details

บท
Research Articles

References

โครงการ Tipitaka (DTP), ความรู้รอบตัว/อนุรักษ์คัมภีร์ใบลานไทยรักษาไว้ให้แผ่นดิน.html,

http://www.dmc.tv/pages/ [ 3 พฤษภาคม 2562].

ประสิทธิชัย เลิศรัตนเคหกาล, (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการคัมภีร์ใบลานในประเทศ

ไทย, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,

สถาบันอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน วัดสูงเม่น, (2559), เมืองคัมภีร์ธัมม์โบราณ มรดกธัมม์ มรดก

โลก วัดสูงเม่น. ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล : ไทยอุตสาหะการพิมพ์.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโรและคณะ, (2558). การจัดการความรู้ทางวัฒนธรรมในประเพณี

ตากธรรมของวัดสูงเม่น จังหวัดแพร่. รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการ

วัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.

สมัย วรรณอุดร, (2559). คัมภีร์ใบลานกับกระบวนการสร้างศูนย์เรียนรู้ชุมชน ด้านเอกสาร

โบราณวัดศรีจันทร์ ชุมชนบ้านนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย, รายงานการวิจัย :มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Boissevain, Jeremy and J.Clyde Mitchell, (2015), How to be Networks : Studies

in Human Interaction, (Netherlands : Mouton & Co, P.54.

Starkey, Paul, (1997), Networking for Development, IFRTD (The International

Forum for Rural Transport and Development London P.67-68.