พุทธจริยธรรม แนวคิด ปรัชญาและกระบวนการเสริมสร้าง สังคมสันติสุขในจังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
แนวคิดปรัชญาและหลักพุทธจริยธรรมที่เกี่ยวกับสันติสุขในพระพุทธศาสนาเถรวาทคือการกระทำหรือความประพฤติที่แสดงออกทาง กาย วาจา ใจ อันดีงาม ทั้งภายในจิตใจ และพฤติกรรมภายนอกที่แสดงออกมา ให้เหมาะสมกับเวลาโอกาสและสถานที่ ในชีวิตประจำวัน
กระบวนการเสริมสร้างสังคมสันติสุขตามหลักพุทธจริยธรรมในจังหวัดบุรีรัมย์ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 เป็นคนดี ขั้นตอนที่ 2 มีปัญญาดี ขั้นตอนที่ 3 รายได้สมดุล ขั้นตอนที่ 4 สุขภาพดี ขั้นตอนที่ 5 สิ่งแวดล้อมดี ขั้นตอนที่ 6 สังคมดี ขั้นตอนที่ 7 หลุดพ้นอาชญากรรม ขั้นตอนที่ 8 การจัดตั้งกองทุนพึ่งพาตนเอง ขั้นตอนที่ 9 การสร้างความเข้มแข็งของคณะกรรมการหมู่บ้าน
วิเคราะห์พุทธจริยธรรมกับกระบวนการเสริมสร้างสังคมสันติสุขในจังหวัดบุรีรัมย์ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 เป็นคนดี และขั้นตอนที่ 7 หลุดพ้นอาชญากรรม ด้วยการรักษาศีล
ขั้นที่ 2 มีปัญญา ในขั้นตอนนี้เป็นหลักธรรมที่ใช้ในกระบวนการนี้คือหลักปัญญา 3 ขั้นตอนที่ 3 รายได้สมดุลและขั้นตอนที่ 8 กองทุนพึ่งพาตนเองเป็นการนำหลักคิหิสุข 4 ขั้นตอนที่ 6 สังคมอบอุ่นและขั้นตอนที่ 9 การสร้างความเข้มแข็งคณะกรรมการหมู่บ้าน ใช้หลักทิศ 6
Article Details
References
การหย่าร้างในชุมชนโนนทัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุมาลี สุขอร่าม. (2554).“การประยุกต์ใช้พุทธจริยธรรมในการประกอบธุรกิจ กรณีศึกษา บริษัทแฟรีแลนด์สรรพสินค้าจำกัดนครสวรรค์”.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสมชาย สิริจนฺโท (2548), พุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทางของ
พระเทพวรคุณ (สมาน สุเมโธ), บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (2539),พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.