ศึกษาภาษาถิ่นเขมรที่พูดในพื้นที่ จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์และศรีสะเกษ

Main Article Content

พระมหาไสว เถาว์ยา
พระมหาสุริยัน บึงทะเล
สิทธิมนต์ ติสันเทียะ
วารุณี ประไพรเมือง

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงสำรวจประชากรที่พูดภาษาถิ่นเขมรในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์และจังหวัดศรีสะเกษมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาษาถิ่นเขมรในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์และจังหวัดศรีสะเกษและเพื่อสำรวจประชากรที่พูดภาษาถิ่นเขมรในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์และจังหวัดศรีสะเกษ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์เจ้าของภาษาจำนวน 30 คน จาก 3 หมู่บ้านที่พูดภาษาถิ่นเขมรใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ที่อำเภอสังขะ จังหวัดบุรีรัมย์ที่อำเภอประโคนชัยและจังหวัดศรีษะเกษที่อำเภอขุขันธ์ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลของการวิจัยพบว่า ภาษาถิ่นเขมรที่ใช้พูดในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์และจังหวัดศีรสะเกษ มีหน่วยเสียงดังต่อไปนี้ คือ หน่วยเสียงพยัญชนะมี 21 เสียงซึ่งสามารถปรากฏในตำแหน่งต้นของพยางค์ได้ คือ /ป/, /ต ฏ/, /ก/, /อ/, /ผ พ ภ/, /ท ธ ฒ ฐ ถ (ฑ)/, /ค ฆ ข/, /บ/, /ด (ฑ)/, /จ/, /ช ฉ ฌ/, /ม/, /น ณ/, /ง/, /ฝ ฟ/, /ศ ส ษ ซ ทร/, /ห ฮ/, /ล/, /ร/, /ย ญ/, /ว/ หน่วยเสียงพยัญชนะ 14 เสียงซึ่งสามารถปรากฏในตำแหน่งท้ายของพยางค์ได้ คือ /ป/, /ต ฏ/, /ก/, /อ/, /จ/, /ห ฮ/, /ม/, /น ณ/, /ย /, /ง/, /ล/, /ร/, /ญ/, /ว/  หน่วยเสียงพยัญชนะควบกล้ำมี 11 เสียง คือ/ปล/,/ปร/, /ตร/, /กล/, /กร/, /พล/, /ขล/, /ขว/, /บล/, /บร/,/หล/ หน่วยสระเดี่ยวเสียงสั้นมี 13 เสียง คือ /อิ/, /อึ/, /เอะ/, /เ-อะ/, /อุ/, /โอะ/, /แ-/, /อะ/, /อั/, /เอาะ/,/อํ/, /ฤ/, /ฦ/ หน่วยสระเดี่ยวเสียงยาวมี 14 เสียง คือ /อี/, /อื/, /เอ/, /เ-อ/, /อู/, /โอ/, /แอ/, /อา/, /ออ/, /เอา/, /อม/, /อำ/,/ฤา/, /ฦา/ หน่วยสระผสม 4 เสียง เสียงสั้น 1 เสียง เสียงยาว 3 เสียง คือ /เอียะ/, /เอีย/, /เอือ/, /อัว/ มีพยางค์ 2 ประเภท คือพยางค์ใหญ่ (major)และพยางค์เล็ก (minor) พยางค์มี 2 ระดับคือพยางค์ใน (nuclear) และพยางค์นอก (peripheral) มีหน่วยคำ 2 ประเภทคือ หน่วยคำอิสระและหน่วยคำผสม ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ 1)  รูปแบบทั่วไป หรือ หน่วยคำพยางค์เดียว แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ (1) พยางค์เดี่ยว และ (2) หลายพยางค์และ 2) หน่วยคำผูกพัน หรือหน่วยคำหลายพยางค์ แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ประกอบด้วย (1) แบบคำผสม (2) แบบลงวิภัตติปัจจัย (3) แบบคำซ้อน (4) แบบคำสัมผัส นอกจากนี้ พบว่า หน่วยคำสามารถแบ่งเป็นวจีวิภาคได้ดังนี้  1. หน่วยคำหลัก ประกอบด้วย นาม สรรพนาม ลักษณะนาม บอกปริมาณ ขยายกริยา (2) คำกริยาประกอบด้วย กริยาหลักและกริยาช่วย (3) คำวิเศษณ์ (4) คำคุณศัพท์ (5) คำสังขยา (6) คำบุรพบท (7) คำนำหน้านาม (8) คำลงท้ายประโยค (9) คำเชื่อม (10) เครื่องหมาย (11) คำปฏิเสธ (12) คำซ้ำ และ (13) คำอุทาน ภาษาถิ่นเขมรเป็นภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเซียติก ในปัจจุบันภาษาถิ่นเขมรแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ เขมรเหนือใช้พูดกันในประเทศไทย เขมรกลางใช้พูดกันในประเทศกัมพูชาและเขมรใต้ใช้พูดกันในประเทศเวียดนามตอนใต้ สำหรับภาษาถิ่นเขมรใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ที่อำเภอสังขะมีผู้พูดประมาณ 50% จังหวัดบุรีรัมย์ที่อำเภอประโคนชัยมีผู้พูดประมาณ 40% และจังหวัดศรีษะเกษที่อำเภอขุขันธ์มีผู้พูดประมาณ 30% ของประชากรแต่ละพื้นที่ซึ่งพบว่าภาษาถิ่นเขมรทั้ง 3 จังหวัดมีวจีวิภาคเหมือนกันแต่สำเนียงต่างกัน

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พระมหาไสว เถาว์ยา, Mahaculalongkornrajavidyalaya University, Thailand

Mahaculalongkornrajavidyalaya University, Thailand

พระมหาสุริยัน บึงทะเล, Mahaculalongkornrajavidyalaya University, Thailand

Mahaculalongkornrajavidyalaya University, Thailand

สิทธิมนต์ ติสันเทียะ , Mahaculalongkornrajavidyalaya University, Thailand

Mahaculalongkornrajavidyalaya University, Thailand

วารุณี ประไพรเมือง, Mahaculalongkornrajavidyalaya University, Thailand

Mahaculalongkornrajavidyalaya University, Thailand

 

References

Krisana Yodmongkhon. (1986), “The Phonological study of Northern Khmer
(Prakhonchai District Buriram Province)”. M.A. Thesis in Linguistics,
Graduate School: Mahidol University.
Prakorb Phon-ngam.(1999) “A Morphological study of Northern Khmer”. A
Dissertation of Doctor of Philosophy in Linguistics.Graduate School:
Mahidol University.
______. (1991). “The Problem of aspirates in Central Khmer and Northern Khmer”. Paper Presented at the 24th International Conference on
Sino-Tibetan Languages and Linguistics at Ramkhamhaeng
University. Bangkok: Thailand.
Ruengdet P.(1976). “A Synchronic Comparative Study of Modern Thai and
Modern Lanna”. A Dissertation of Doctor of Philosophy in Linguistics.
Graduate School: Poona University,
______. (1987). “An introduction to Thai Syntax”. Bangkok: Mahidol University.
______. (2552), “Thai linguistics”. 2nd Edition. Bangkok: Fast Books Press.
Suriya Nakprat. (1991). “A descriptive study of the Buriram dialect of High
Khmer”. A Dissertation of Doctor of Philosophy in Linguistics. Graduate
School: Nagpur University, India.
Suwilai Premsrirat.“Phonetic variation of final trill and final palatals in
Khmer dialects of Thailand”.Mon-Khmer Studies. XXIV. (pp. 1-26). Summer Institute of Linguistics & Mahidol University, 1995.
______. (1997). “Linguistic contributions to the study of Northern Khmer
language Of Thailand in last Two decades”. Mon-Khmer Studies. XXII.
(pp. 119-127). Summer Institute of Linguistics & Mahidol University.
Thomas,David D.and Wanna Tienmee. (1982). “An Acoustic Study of Northern
Khmer Vowels”. Paper presented at the xvth International Conference
on Sino- Tibetan Languages and Linguistics, Benjing, china.
Wilaisak Kingkham. (1992). “A Comparative Study of Standard Thai and Tai-
Phake spoken in Assam (India)”. A Dissertation of Doctor of Philosophy
in Linguistics. Graduate School: Poona University