นโยบายเกษตรอินทรีย์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทย

Main Article Content

คมสันต์ บุพตา
ภักดี โพธิ์สิงห์

บทคัดย่อ

ประเทศไทยเป็นสังคมแห่งเกษตรกรรม โดยประชากรส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเป็นเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ หรือแม้แต่ชาวประมง ซึ่งผลผลิตทางการเกษตรนั้นได้ส่งออกไปขายยังต่างประเทศทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น ข้าว ผัก ผลไม้หรือผลผลิตทางการเกษตรต่างๆอีกมากมาย ซึ่งถือว่าเป็นรายได้ส่วนหนึ่งที่ช่วยในการนำมาพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ก้าวทันนานาประเทศที่เขาพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว รัฐบาลปัจจุบันจึงได้กำหนดนโยบายเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้เกษตรกรผลิต ผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ มาตรฐาน ปลอดภัย ต่อผู้ผลิตและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค เพิ่มมูลค่าผลผลิตและการค้า การบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคและมีตลาดรองรับ ทั้งยังสามารถลดต้นทุนการผลิตจาก การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพทดแทนปุ๋ยเคมีและสารเคมี ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีชีวิตที่ดีขึ้น มีรายได้จากการทำเกษตรเพิ่มขึ้น หนี้สินลดลงและมีความภาคภูมิใจในอาชีพการเกษตร การพัฒนาเกษตรอินทรีย์จะทำไปพร้อมกับการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นตัวช่วยในการขับเคลื่อนดำเนินการควบคู่ไปกับนโยบายอื่นๆ เกษตรกรต้องเปิดใจยอมรับกับการพัฒนาตนเอง ปรับปรุงความรู้ ความสามารถ เทคนิควิธีคิดต่างๆ เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ (Innovation) นำเทคโนโลยีเข้าสู่การปฏิบัติตามทฤษฎีเกษตรอินทรีย์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้แนวคิดจากคนที่เคยประสบความสำเร็จมาใช้กับชีวิตตน มีความพร้อมสำหรับการศึกษาเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลง เป็นทั้งการพัฒนาความรู้ ทักษะ และพฤติกรรม รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป พัฒนาไปสู่ความสำเร็จในชีวิต ทำให้มีคุณภาพชีวิตและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

Article Details

บท
Articles
Author Biographies

คมสันต์ บุพตา , Rajabhat Maha Sarakham University, Thailand.

Rajabhat Maha Sarakham University, Thailand.

 

ภักดี โพธิ์สิงห์, Rajabhat Maha Sarakham University, Thailand.

Rajabhat Maha Sarakham University, Thailand.

 

References

จุมพล หนิมพานิช. (2549).การวิเคราะห์นโยบาย :ขอบข่าย แนวคิด ทฤษฎีและกรณี
ตัวอย่าง. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปกรณ์ ปรียากร. (2538). นโยบายสาธารณะและการวางแผน. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิต
พัฒนบริหารศาสตร์.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2560). เกษตรอินทรีย์. [online].
https://www.moac.go.th/a4policy-alltype-391191791795.
กรีนเนท. (2560). หลักการเกษตรอินทรีย์. [online].
http://www.greennet.or.th/article/1006.
กรีนเนท. (2560). แนวทางเกษตรอินทรี. [online]. http://www.greennet.or.th/article/86.
suwatchai. (2560). การพัฒนาตนเอง พัฒนาคุณภาพชีวิต.
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=12950.0;wap2.BESTERLIFE • PUBLISHED.
การพัฒนาตนเอง. [online]. http://besterlife.com/พัฒนาคุณภาพชีวิต/.
ขวัญตา พระธาตุ/สคป.สข. (2560). การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานอย่างไร ? ให้ทันกับ
สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในอนาคต. [online].
http://www.sk-ad.ago.go.th/index.php/2013-05-15-09-41-23/2-
uncategorised/34-2014-05-22-07-36-19?showall=&start=4.
อมรศักดิ์ กิจธนานันท์. (2551). สไลด์ประกอบการบรรยายวิชาแนวคิดและทฤษฎี
กระบวนการนโยบายสาธารณะ. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.
พีรธร บุณยรัตพันธุ์. (2551). สไลด์ประกอบการบรรยายวิชานโยบายสาธารณะ.พิษณุโลก :
สาขาวิชารัฐศาสตร์.
McNichols. 1977 : 3 (อ้างถึงใน tassanee kumnurdsing. 2555). นโยบาย ความหมาย.
Ripley,RandallB. & Franklin, GraceA. (1982).BureaucracyandPolicyImplementation. Illinois: The Dorsey.