การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาหน่วยการเรียนรู้ตรรกศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึกทักษะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้กิจกรรมการเรียนรู้ KWDL ร่วมกับแบบฝึกทักษะ หน่วยการเรียนรู้ตรรกศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้ตรรกศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังใช้กิจกรรมการเรียนรู้ KWDL ร่วมกับแบบฝึกทักษะ 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาหน่วยการเรียนรู้ตรรกศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังใช้การจัดการเรียนรู้ KWDLร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนภูแลนคาวิทยายน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 20 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน เวลา 16 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากรายข้ออยู่ระหว่าง 0.30-0.80 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.47 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.75 และ 3) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหา เป็นแบบทดสอบอัตนัย จำนวน 2 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test dependent sample) ผลการวิจัย พบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้กิจกรรมการเรียนรู้ KWDL ร่วมกับแบบฝึกทักษะ หน่วยการเรียนรู้ตรรกศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพตาม (E1/E2) เท่ากับ 83.5/80.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้ตรรกศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ KWDL ร่วมกับแบบฝึกทักษะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ3) ทักษะการแก้ปัญหาทางการเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึกทักษะหน่วยการเรียนรู้ ตรรกศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
จิราภรณ์ อุปภา. (2554). ผลการจัดการเรียนรู้ ด้วยเทคนิค KWDL ในการแก้โจทย์ปัญหา
คณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ชั้นปีที่ 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
บุญชม ศรีสะอาด, (2553), การวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 8, กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.
รุจิอร รักใหม่, (2557), การศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง
ลำดับและอนุกรมโดยใช้เทคนิค KWDL สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสตรีพัทลุง จังหวัดพัทลุง, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
วรางคณา บุญครอบ (2553) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเจตคติต่อการเรียน
คณิตศาสตร์เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้วิธีแก้ ปัญหาตามขั้นตอนของโพลยากับเทคนิค KWDL, บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
วิไลพร นาควรรณกิจ (2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงโดยใช้
เทคนิค KWDL เรื่องโจทย์ปัญหาการวัดที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดปทุมธานี. นนทบุรี :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศิริพัฒน์ คงศักดิ์. (2550) การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่องเวลา
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล และการจัดการเรียนรู้ตามแนว สสวท. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยศิลปากร.
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) สาระ
การเรียนรู้ประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์, กรุงเทพฯ:กระทรวงศึกษาธิการ.
อดิเรก เฉลียวฉลาด. (2550) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อการ
เรียนคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิค K-W-D-L กับการสอนปกติ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี