การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เทคนิค KWDL.
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ ทฤษฎีบทพีทาโกรัสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เทคนิค KWDL ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ระหว่างก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เทคนิค KWDL และ 3) เปรียบเทียบการแก้ปัญหาทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ทฤษฎีบทพีทาโกรัสระหว่างก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เทคนิค KWDL กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวังใหม่พัฒนา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 20 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) โดยการจับฉลาก รูปแบบการวิจัย เป็นแบบแผนการทดลองเบื้องต้น (Pre Experimental Design) โดยมีกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One Group Pretest-Postest Only Design) เครื่องมือวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เทคนิค KWDL จํานวน 16 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ทฤษฎีบทพีทาโกรัส เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบวัดการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบอัตนัย จำนวน 4 ข้อ สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Sample) ผลการวิจัยพบว่า :
1) แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เทคนิค KWDL มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.47/81.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (70/70)
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เทคนิค KWDL สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3) ผลการแก้ปัญหาทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เทคนิค KWDL สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ, (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
พื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
บุญชม ศรีสะอาด, (2553), การวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 8, กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.
ปนัดดา กุลบุตร. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถ
ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยการใช้เทคนิค KWDL โรงเรียนทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2549). เทคนิคและยุทธวิธีพัฒนาทักษะการคิดที่เน้นการจัดการเรียนรู้ที่
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิไลพร นาควรรณกิจ. (2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับชีวิตจริง โดยใช้
เทคนิค KWDL เรื่องโจทย์ปัญหาการวัด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์
และความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. (2562). รายงานผลการทดสอบ
ทางการศึกษาระดับชาติ (ONET) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ
เขต 3 ปีการศึกษา 2559-2561. ชัยภูมิ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3.