ผลการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมเพลงเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

พัชราภรณ์ ลาผา
ชวนพิศ รักษาพวก

บทคัดย่อ

 


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมเพลงเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยให้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจากการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมเพลง 3) ศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยต่อกิจกรรมเพลงเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านห้วยน้ำคำ อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 1 ที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 20 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมเพลงเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จำนวน 25 แผน มีค่าความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก 4.48 2)แบบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจากการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมเพลง มีค่าความยากง่าย 0.46 ถึง 0.73 ค่าอำนาจจำแนก 0.47 ถึง 0.84 และค่าความเชื่อมั่น 0.95 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยต่อกิจกรรมเพลงเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ค่าความสอดคล้อง 0.80-1.00 และค่าความเชื่อมั่น 0.75 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา ผลวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมเพลงเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.96/83.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังจากการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมเพลง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้ง 4 ทักษะ ดังนี้ ทักษะการเรียงลำดับ มีคะแนนเฉลี่ย 4.29 ทักษะการรู้ค่า 1-20 มีคะแนนเฉลี่ย 4.20 ทักษะการจำแนกเปรียบเทียบ มีคะแนนเฉลี่ย 4.07 และทักษะการจัดหมวดหมู่ มีคะแนนเฉลี่ย 3.82 3) ความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยต่อกิจกรรมเพลงเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับพึงพอใจมาก


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

ชวนพิศ รักษาพวก, Faculty of Education Chaiyaphum Rajabhat University, Chaiyaphum 36240 Thailand. Corresponding author

Faculty of Education Chaiyaphum Rajabhat University, Chaiyaphum 36240 Thailand. 

Corresponding author

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งชาติ จำกัด.

กรมวิชาการ,กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์

ครุสภาลาดพร้าว.

ณรงค์ กาญจนะ. (2553). เทคนิคและทักษะการสอนเบื้องต้น. โปรแกรมวิชาหลักสูตรและ

การจัดการเรียนรู้คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

ดารณี อุทัยรัตนกิจ. (2553). คู่มือการจัดประสบการณ์เรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับวัยอนุบาล

ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546.กรุงเทพฯ:พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

บุญชม ศรีสะอาด, (2553), การวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 8, กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.

พรรณี นิลสุวรรณ์. (2555). การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้เกม

การละเล่นพื้นบ้าน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ยุพาวรรณ สมฤทัย. (2559). ผลการใช้กิจกรรมเพลงเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์

ของเด็กปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

รัศมี ตันเจริญ. (2549). การส่งเสริมการคิดเพื่อพัฒนาสติปัญญาของเด็กปฐมวัย, วารสาร

วิชาการ. ปีที่ 9 (1) : มกราคม-มีนาคม. มหาวิทยาลัยบูรพา.

อุไรรัตน์ ญาติรัก. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเพลงเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทาง

คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.