การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้นิทานประกอบภาพเพื่อพัฒนาความสามารถ ในการเขียนสะกดคำของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

Main Article Content

คณวร สัญญะ
เดือนเพ็ญพร ชัยภักดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสะกดคำที่ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยใช้นิทานประกอบภาพ และ 2) ศึกษาความคงทนในการเขียนสะกดคำของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้โดยใช้นิทานประกอบภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ เป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้  ด้านการเขียนสะกดคำที่ประสมด้วยสระเปลี่ยนรูป คือ ไม่สามารถเขียนสะกดคำที่เกิดการเปลี่ยนรูปได้เมื่อมีตัวสะกด ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล ที่มีปัญหาทางการเขียนสะกดคำ จำนวน 8 คน ที่ได้รับการคัดกรองจากแบบคัดกรองของกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการทดลองแบบทดลองกลุ่มเล็ก ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 9 สัปดาห์ในทุกวันเสาร์ครั้งละ 2 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน เวลา 18 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนสะกดคำ เป็นแบบเขียนตามคำบอก จำนวน 30 คำ และ 3) ชุดนิทานประกอบภาพ จำนวน 3 ชุด (สระอะ สระเอะและสระเออ) สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าที (t-test)  ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการเขียนสะกดคำที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้นิทานประกอบภาพ ก่อนเรียนมีความสามารถในการเขียนสะกดคำคิดเป็นร้อยละ 32.92 และหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนที่มีความสามารถในการเขียนสะกดคำร้อยละ 80.42 คิดเป็นร้อยละ 47.50 2) ค่าเฉลี่ยความคงทนของความสามารถในการเขียนสะกดคำของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่ได้รับหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้นิทานประกอบภาพ เมื่อผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 24.75 คิดเป็นร้อยละ 82.50 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

เดือนเพ็ญพร ชัยภักดี, หลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

หลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ :

กระทรวงศึกษาธิการ.

กัลยา ก่อสุวรรณ. (2553). การสอนเด็กที่มีความบกพร่องระดับเล็กน้อย. กรุงเทพฯ.

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2554). แนวทางการพัฒนาระบบการ

ประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์

และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จินตนา ใบกาซูยี. (2545). เทคนิคการเขียนหนังสือสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2544). เอกสารการสอนชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา หน่วยที่ 8-15.

นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ดวงฤทัย คำวัง. (2554). การใช้นิทานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียงคำในประโยคภาษาไทยและ

การเล่านิทานของนักเรียนชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธริตา นาคสวัสดิ์. (2558). การเล่านิทานประกอบภาพเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียน

สะกดคำที่ประสมด้วยสระเปลี่ยนรูปของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด, (2553), การวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 8, กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.

วินัย รอดจ่าย. (2534). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ : ตะเกียง.

สุนทรีย์ ทองจิตต์. (2544). หลักการใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช.

สุภัสสร วัชรคุปต์ (2543). ชุดการสอนการอ่านจับใจความโดยใช้นิทานสำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยบูรพา. ถ่ายเอกสาร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

(2552). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Atkinson, R. c., & Shiffrin, R. M. (1968). Human memory: A proposed system

and its control processes. In K.Spence & J. Spence (Eds.),The

Psychology of Learning and Motivation. 2, New York :Academic Press.

Gagne, Robert M. (1970). The Condition of learning. 2nd ed. New York :

Rinehart and Winston,