การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ หน่วยการเรียนรู้ สิ่งมีชีวิต กับสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีสรรคนิยมของ Underhill ร่วมกับเทคนิค QSCCS.

Main Article Content

ดลชนก รัตนบุญทา
รัชกร ประสีระเตสัง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีสรรคนิยมของ Underhill ร่วมกับเทคนิค QSCCS ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 3) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน 4) ศึกษาความคงทนในการเรียนของนักเรียน เมื่อเรียนผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ ประชากรที่ใช้ ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเครือข่ายจัตุรัส-หนองบัวใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ปีการศึกษา 2562 ทั้งหมด 166 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสระสี่เหลี่ยม จำนวน 10 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ One Sample Wilcoxon Signed Ranks Test  ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีสรรคนิยมของ Underhill ร่วมกับเทคนิค QSCCS ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 80.38/80.67 ซึ่งเป็นไป ตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หน่วยการเรียนรู้ สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีสรรคนิยมของ Underhill ร่วมกับเทคนิค QSCCS หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีสรรคนิยมของ Underhill ร่วมกับเทคนิค QSCCS  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ.05 4) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีสรรคนิยมของ Underhill ร่วมกับเทคนิค QSCCS หน่วยการเรียนรู้ สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม มีคะแนนความคงทนในการเรียนรู้หลังเรียนผ่านไป 2 สัปดาห์ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

รัชกร ประสีระเตสัง, หลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

หลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

References

จัตุรัสหนองบัวใหญ่, เครือข่ายโรงเรียน. (2562). รายงานสรุปผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561 เครือข่ายโรงเรียนจัตุรัส-หนองบัวใหญ่. ชัยภูมิ : เครือข่ายโรงเรียนจัตุรัส-หนองบัวใหญ่.

จิรชพรรณ ชาญช่าง. (2561). ผลของการใช้ชุดการเรียนรู้ผ่านแท็บเล็ตร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาตรี สำราญ. (2548). สอนให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ได้อย่างไร. วารสารสานปฏิรูป, 8(83) 40

ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์และทะเนศ วงศ์นาม. (2557). การศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น (QSCCS) สำหรับนิสิตปริญญาโท. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ทิพวรรณ ทองปาน. (25561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนตามแนวคิดทฤษฎีสรรคนิยมของ Underhill ร่วมกับเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เพื่อพัฒนาความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์และเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีปากพนัง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

เทียนทอง ดีรักษา. (2553). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาชีววิทยาเรื่องพันธุกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การสอนตามแนวคิดทฤษฎีสรรคนิยมของ Underhill. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นภาไล ตาสาโรจน์. (2553). การเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความคงทนในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างวิธีสอนโดยใช้ผังกราฟิกกับวิธีสอนตามคู่มือครู.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พิชญะ กันธิยะ. (2559). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

พิรุณพรรณ พลมุข. (2550). ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ของ Underhill ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในวิชาเคมี .บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มนตรี วงษ์สะพาน. (2556). การยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยกระบวนการคิดวิเคราะห์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 13(2), 125-138.

วารีรัตน์ แก้วอุไร และคณะ. (2556). โครงการพัฒนาครูคุณภาพโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring ระหว่างคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562, จาก www.brs.ac.th/_files_school/.../65100487_1_20131028-150244.ppt

วิชัย วงศ์สุวรรณ. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคงทนในการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง นโยบายการเงิน การคลัง และการค้าระหว่างประเทศ โดยใช้วิธีสอนแบบบรรยายร่วมกับเทคนิคกราฟิกและสารสนเทศร่วมสมัย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2556 ร.ร.ญ.ส. จ.สงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(2), 30-42.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). ประเด็นหลักและนัยทางการศึกษาจาก PISA 2015 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ : ซัคเซสพับลิเคชั่น.

สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ,สำนักงาน. (2562).

นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2563-2570 และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ.2563-2563สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2562.จาก http://www.nxpc.or.th/?p=359.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2548). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Underhill,R.G.(1991). Two layer of constructivist curriculum. In E’Von Glassersfeld (ed). Constructivism in Mathematic Education. Norwell: Kluwer.