โปรแกรมสุขศึกษาในการสร้างเสริมทักษะชีวิตร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม เพื่อการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ในโรงเรียนชีทวนวิทยาสามัคคี ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการสร้างเสริมทักษะชีวิตร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยมีกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 33 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 33 คน ซึ่งกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมสุขศึกษา เป็นเวลา 10 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบให้มีการเรียนการสอนตามปกติ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในส่วนของข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง และใช้สถิติอนุมานเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยของคะแนนายในกลุ่มด้วย Paired t-test เปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยของคะแนนระหว่างกลุ่มด้วย Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนด้านความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศ ด้านทักษะชีวิตและด้านแรงสนับสนุนทางสังคม สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เนื่องจากโปรแกรมสุขศึกษาได้ประยุกต์การใช้สื่อประกอบการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในวัยรุ่น โดยสรุปโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทักษะชีวิตร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ในการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีประสิทธิผล สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 นำไปขยายผลสู่กลุ่มนักเรียนในระดับเดียวกันได้
Article Details
References
คลังพลอย เอื้อวิทยาศุภรและอรณิชา โพธิ์หมื่นทิพย์. (2556).ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับ
พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2563, จาก http://journal.knc.ac.th/pdf/17_2_2554_2.pdf.
เจตนิพิฐ สมมาตย์. (2550). การสร้างเสริมทักษะชีวิตร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วน
ร่วมต่อพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธิดารัตน์ ผลเต็ม. (2553). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้การ
เสริมสร้างทักษะชีวิตร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เนตรทราย ปัญญชุณห์. (2552). การเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ [สสส.]. (2555). แผนหลัก สสส. 2555 –
กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560). คู่มือพัฒนาศักยภาพ
แกนนำวัยรุ่น. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. (2560). โปรแกรม HDC. อนามัยแม่และเด็ก.วันที่ 16 เมษายน 2561https://ubn.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php
อรอานันท์ ใสแสง. (2552). ประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้แนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิต
ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อป้องกันการติดเกมในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อัญชลี ภูมิจันทึก. (2554). ประสิทธิผลโปรแกรมสุขศึกษาในการประยุกต์ใช้การสร้างเสริม
ทักษะชีวิตกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Lou, C.H., Wang, X.J., Tu, X.W., & Gao, E.S. (2008). Impact of Life Skills Training
to Improve Cognition on Risk of Sexual Behavior and Contraceptive Use among Vocational School Students in Shanghai, China. Journal of Reproduction and Contraception, 19(4), 239-251.