พลวัตวัฒนธรรมของประชาชนตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา: คติความเชื่อ และการละเล่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประวัติคุณค่าและความสำคัญด้านความเชื่อ การละเล่นของประชาชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมของประชาชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ผ่านมิติความเชื่อและการละเล่น (3) เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อ และการละเล่นกับการสร้างความสัมพันธ์ของประชาชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสนทนาจากกลุ่มเป้าหมาย นำผลสนทนามาวิเคราะห์และเขียน
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประวัติคุณค่าและความสำคัญด้านความเชื่อ การละเล่นของประชาชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมของประชาชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ผ่านมิติความเชื่อและการละเล่น (3) เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อ และการละเล่นกับการสร้างความสัมพันธ์ของประชาชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสนทนาจากกลุ่มเป้าหมาย นำผลสนทนามาวิเคราะห์และเขียนรายงานการวิจัยด้วยวิธีเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่าประวัติคุณค่าและความสำคัญด้านความเชื่อ การละเล่นของประชาชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา พิธีกรรมดังกล่าวมีคุณค่าต่อระบบการดำเนินชีวิต การอยู่ร่วมกันของคนในสังคม การช่วยเหลือคนที่สิ้นหวังจากการเจ็บป่วย ซึ่งคุณค่าที่เกิดขึ้นล้วนมีผลกระทบต่อคนในพื้นที่ คือ 1. เกิดคุณค่าทางด้านวัฒนธรรม 2. เกิดคุณค่าทางด้านเศรษฐกิจ 3. เกิดคุณค่าทางด้านการรักษาโรค 4. เกิดคุณค่าด้านสังคม ดังนั้น คุณค่าและความสำคัญด้านความเชื่อ และการละเล่นของประชาชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จึงปรากฏเห็นได้ชัดเป็นรูปธรรมดังนี้ 1) ความกตัญญูกตเวที 2) สามัคคีธรรม 3) ความเสียสละ 4) ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นต้น ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมของประชาชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ผ่านมิติความเชื่อและการละเล่น ความเชื่อในพิธีกรรม“มะม๊วต”ได้มีการสืบทอดต่อกันเรื่อยมาจากรุ่นสู่รุ่น และมีการเปลี่ยนแปลงไปตามขั้นตอนและสภาพเศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยี องค์ประกอบที่เกี่ยวกับความเชื่อนั้นประกอบด้วย แนวคิด พิธีกรรม และผู้ประกอบพิธีกรรม เช่น ความเชื่อที่เกี่ยวกับผี วิญญาณ ความเชื่อที่เกี่ยวกับของรักษาโรค ความเชื่อที่เกี่ยวกับการเข้าทรง “มะม๊วต”จะมีการจัดพิธีกรรมและการติดต่อกับวิญญาณโดยผ่านร่างทรง คือ ครูผู้ประกอบพิธีกรรม“มะม๊วต”ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมผ่านมิติความเชื่อ และการละเล่นพิธีกรรม“มะม๊วต”ประกอบด้วย 1. ความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรม 2. ความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ 3. ความสัมพันธ์ทางด้านสังคม เป็นต้น
Article Details
References
เกียรติศักดิ์ นาคประสิทธิ์ และคณะ. (2547). การศึกษาความเชื่อและการปฏิบัติทาง
พระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดนครราชสีมา. รายงานการวิจัย :สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2540). บ่อเกิดลัทธิประเพณีอินเดียเล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 2.
ราชบัณฑิตยาสถาน.
บรรจง โสดาดีและคณะ. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมและประเพณีของ
พุทธศาสนิกชนชาวกูยในประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว. รายงานการวิจัย : สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง
กรณราชวิทยาลัย.
บำรุง บุญปัญญา. (2549). แนวคิดวัฒนธรรมชุมชน. โครงการหนังสือดอดติ้วป่า: สุรินทร.
ประสาท อิศรปรีดาและคณะ. (2518). ความเชื่อและสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวอีสาน.
มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโรและคณะ. (2558). รายงานการวิจัยการเสริมสร้างสุขภาวะและการ
เรียนรู้ของสังคมตามแนวพระพุทธศาสนา. รายงานการวิจัย : สถาบันวิจัย
พุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พูนทรัพย์ เกตุวีระพงษ์และคณะ. (2557). สืบชะตาล้านนา : แนวคิดและการเสริมสร้าง
ความสัมพันธ์ทางสังคมและจิตวิญญาณของชุมชนในล้านนา, รายงานการวิจัย : สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มณี พะยอมยงค์. (2536). ความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ยศ สันตสมบัติ. (2551). อำนาจ พื้นที่ และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ :การเมืองวัฒนธรรมของ
รัฐชาติในสังคมไทย. กรุงเทพ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).