การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการเรียนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเพลงภาษาอังกฤษตามสมัยนิยม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเพลงภาษาอังกฤษตามสมัยนิยมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการจัดการเรียนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเพลงภาษาอังกฤษตามสมัยนิยม 3) เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเพลงภาษาอังกฤษตามสมัยนิยม ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม โดยการวิจัยและพัฒนา ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล จำนวน 252 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 42 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้วยเพลง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลัง 3) แบบวัดทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเพลงภาษาอังกฤษตามสมัยนิยม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบด้วย t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า
1) ประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเพลงภาษาอังกฤษตามสมัยนิยม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นไปตามเกณฑ์ 70/70 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเพลงภาษาอังกฤษตามสมัยนิยม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3) ทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551), หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สหกรณ์การเกษตรแก่งประเทศไทย จำกัด.
มณฑลี ไชยศิริ. (2546), การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการใช้เพลงและไม่ใช้เพลงประกอบสอนตามคู่มือ
ครู.บัณทิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2545.
อดิศา เบญจรัตนานนท์และคณะ. (2552), กิจกรรมและสื่อเพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการ
พูดภาษาอังกฤษ. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2).
Beasley and Yuangshan. (2008), The Effect of Web-Based Amarican Music, Lyrics, Definitions and Explanations on Taiwanese ESL Learners. I-Shou University TESL-EJ.
Krashen, S. (1985). The input hypothesis: Issues and in implications. Longman Group Limited: Cambridge University Press.