การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้หลักธรรม ทางพระพุทธศาสนา และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบ STAD ร่วมกับบทเรียนการ์ตูน

Main Article Content

ณัฐษธน สรสิทธิ์
ชวนพิศ รักษาพวก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดกราเรียนรู้ แบบ STAD ร่วมกับบทเรียนการ์ตูน หน่วยการเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80     2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบ STAD ร่วมกับบทเรียนการ์ตูน หน่วยการเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  3) เพื่อเปรียบเทียบ                การคิดวิเคราะห์ ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบ STAD ร่วมกับบทเรียนการ์ตูน                   หน่วยการเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน                        ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนบ้านหนองบัวระเหว โดยวิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้  2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบวัดการคิดววิเคราะห์              สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent sample) ผลการวิจัย พบว่า


  1. แผนการจัดการเรียนรู้ แบบ STAD ร่วมกับบทเรียนการ์ตูน หน่วยการเรียนรู้หลักธรรม                         ทางพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.57/86.25 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

  2. นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ แบบ STAD ร่วมกับบทเรียนการ์ตูน หน่วยการเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ แบบ STAD ร่วมกับบทเรียนการ์ตูน หน่วยการเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05        

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

ชวนพิศ รักษาพวก, หลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

หลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

References

กรมวิชาการ. 2544. การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดตามพระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : ศูนย์พัฒนาหลักสูตร กรมวิชาการ.
แคทรียา ใจมูล. 2550. ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมดีกษปีที่ 2 โรงเรียนห้วยสานยาววิทยา สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาเชียงราย เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน).เชียงราย : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ชนันภรณ์ อารีกุล. 2560, อ้างอิงจาก Sutthirat, 2015, Theinsri, 2013
บุษบา ชูคำ. 2550. ผลของการใช้บทเรียนกร์ตูนคณิตศาสตร์แบบ E-Book เรื่องโจทย์ปัญหาสมการ
เชิงเส้น ตัวแปรเดียวที่มีต่อผลส้มฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในวิชาคณิตศาสตร์
ของนักเรียนชันธยมศึกษาปีที่ 2 สารนิพนธ์ กศ.ม (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ :
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
โบอ้าย คีโอวงษ์สา. 2559. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหาทาง
คณิตศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัยมศึกษาปีที่ 3 นครหลวงเวียงจันทร์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์การศึกษาตามหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. 2551. นวัตกรรมตามแนวคิดแบบ Back ward Design. ภาควิชาหลักสูตร
และการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมศักดิ์ ภู่วิดาวรรธน์. 2545. การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง.กรุงเทพฯ :
เดอะโนว์เลจ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. 2556. รายงานการประเมินคุณภาพภายนอก
สถานศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านหนองบัวระเหว อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ.
สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. 2552. การจัดกระบวนการเรียนรู้ : เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญกรุงเทพฯ :
อักษรเจริญทัศน์.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. 2550. 19 วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ.กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
เอมอร ผาสุกพันธ์. 2550. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และทักษะ
การสื่อสาร ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่จัดการเรียนรู้
แบบร่วมมือเทคนิค STAD กับเทคนิค TAl โดยการประเมินผลตามสภาพจริง. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและ การสอน). พระนครศรีอยุธยา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิกขาล้ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.