บทบาทของเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัดตามหลักธรรมาภิบาล ของวัดในสังกัดคณะสงฆ์ภาค 10
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารกิจการคณะสงฆ์ว่าด้วยกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและหลักธรรมาภิบาล ต่อบทบาทของเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัด ตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในสังกัดคณะภาค 10 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทของเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัด ตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในสังกัดคณะภาค 10 3) เพื่อศึกษาบทบาทของเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัด ตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในสังกัดคณะภาค 10 ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) คือ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์จำนวน 24 คน โดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ของประชาชนในสังกัดคณะสงฆ์ภาค10 จำนวน 6 จังหวัด จำนวน 400 คน โดยการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ปัญหามิติการบริหารกิจการคณะสงฆ์และหลัก ธรรมาภิบาล ต่อบทบาทของเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัด ตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในสังกัดคณะภาค 10 1) การเผยแผ่ศาสนา ขาดการวางแผนเชิงรุก 2) การศาสนศึกษาขาดแคลนงบประมาณอุดหนุน 3) การศึกษาสงเคราะห์ ขาดการมีส่วนร่วม 4) การสาธารณะสงเคราะห์ ขาดการวางแผน 5) การสาธารณูปการ การขัดแย้งกับชุมชน 6) การปกครอง ขาดโครงสร้างที่เหมาะสม และงานวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ปัจจัยมิติการบริหารกิจการคณะสงฆ์ที่ส่งผลต่อบทบาทของเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัด ตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในสังกัดคณะภาค10 ภาพรวมอยู่ในระดับมากคือ ด้านการศาสนศึกษา (= 4.52, S.D. = 0.69) โดยตัวแปรทำนายทั้ง 4 ตัวได้แก่ ด้านศาสนศึกษา ด้านสาธารณสงเคราะห์ ด้านสาธารณูปการ และด้านการปกครอง สามารถทำนายบทบาทของเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัดตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในสังกัดคณะภาค 10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.513 มีอำนาจทำนายร้อยละ 25.20 ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการทำนายมีค่า 1.990 และปัจจัยธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อบทบาทของเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัด ตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในสังกัดคณะภาค10 ภาพรวมอยู่ในระดับมากคือหลักความโปร่งใสและหลักการมีส่วนร่วม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.55, S.D. = 0.57, 0.66) โดยตัวแปรทำนายทั้ง 4 ตัวได้แก่ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านความคุ้มค่า และด้านหลักการตอบสนอง สามารถร่วมกันทำนายบทบาทของเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัด ตามหลักธรรมาภิบาลของวัดในสังกัดคณะภาค 10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.691 มีอำนาจทำนายร้อยละ 47.80 ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการทำนายมีค่า 1.863
ข้อเสนอแนะ ศึกษาทัศนคติของชุมชนที่มีภูมิลำเนาฐานรอบศาสนสถาน นำงานวิจัยมาปรับปรุงและยกระดับการบริหารกิจการคณะสงฆ์และนำสู่ภาคปฏิบัติร่วมกันเพื่อสร้างสันติสุขให้กับชุมชน
Article Details
References
จุฬารัตน์ บุญยากร, (2550).ความคาดหวังของประชาชนต่อวัด,กรุงเทพฯ:กรมการศาสนา.
นงนุช งามดี, (2558), ทัศนะคติของบุคลากรที่มีต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลศึกษา
เปรียบเทียบระหว่างเทศบาลตำบลบ้านแก้ง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ, วิทยาลัย
การปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บรรเลง อินทร์จันทร์, (2556), ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการนำหลักธรรมาภิบาลมา
บริหารงานในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช, กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสวนสุนันทา
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ:
สุวีริยาสาส์น.
พระครูพิศาลถิรธรรม.(2553).ประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในเขตธนบุรี
พระนครศรีอยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูวิสุทธานันทคุณ.(2554). การบริหารจัดการวัดเขาช่องพรานจังหวัดราชบุรี.
พระนครศรีอยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต).(2542) การศึกษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์.พิมพ์ครั้งที่ 4.
กรุงเทพฯ : มูลนิธิพุทธธรรม
พระมหาสมชาย ธมฺมวโร (เต้าประเสริฐ).(2561), แนวทางการประยุกต์หลักธรรมของพระเจ้า
จักรพรรดิเพื่อพัฒนาสังคม, พระนครศรีอยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รอง ปัญสังกา. (2549). พฤติกรรมการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดอุดรธานี. การประชุม
วิชาการ ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.