การพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของพระสังฆาธิการ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 10

Main Article Content

พระมหาสมคิด มะลัยทอง
อติพร เกิดเรือง
ประยุทธ สวัสดิ์เรียวกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม7 ของพระสังฆาธิการ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค10 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม7 ของพระสังฆาธิการ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค10, 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม7 ของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค10 ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) คือ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)  ด้วยการสัมภาษณ์จำนวน 16 คน โดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ของพระสงฆ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค10 จำนวน 6 จังหวัด  จำนวน 400 คน โดยการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ


ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า การพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม7 คือผู้นำที่มีความรู้ ความสามารถ จูงใจให้ผู้อื่นปฏิบัติตามได้ดั่งใจประสงค์และเกิดความพึงพอใจ เป็นไปตามหลักพระพุทธศาสนา และงานวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ปัจจัยหลักสัปปุริสธรรม7 ที่ส่งผลต่อการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม7 ของพระสังฆาธิการ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค10 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านกาลัญญุตา มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.48) โดยตัวแปรอิสระทั้ง 5 ตัวแปรสามารถร่วมกันทำนายการพัฒนาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการตามหลักสัปปุริสธรรม7 ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค10 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.542 อำนาจทำนายประมาณร้อยละ 29.40 (R Square = 0.294) ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการทำนายมีค่า 1.914 ปัจจัยภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการที่ส่งผลต่อการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม7 ของพระสังฆาธิการ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค10 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ แบบกระจายความรับผิดชอบ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.35) โดยตัวแปรอิสระ 2 ตัวแปรสามารถร่วมกันทำนายการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม7 ของพระสังฆาธิการ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค10 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.507 อำนาจทำนายประมาณร้อยละ 25.70 (R Square = 0.257) ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการทำนายมีค่า 1.893


          ข้อเสนอแนะ การพัฒนาภาวะผู้นำให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละวัด เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปตามหลักปริสัญญุตา การเข้าใจความแตกต่างของบุคลากรและวัฒนธรรมของชุมชน


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

อติพร เกิดเรือง , มหาวิทยาลัยชินวัตร, ประเทศไทย

Shinawatra University, Thailand.

 

ประยุทธ สวัสดิ์เรียวกุล , มหาวิทยาลัยชินวัตร, ประเทศไทย Shinawatra University, Thailand.

มหาวิทยาลัยชินวัตร, ประเทศไทย

Shinawatra University, Thailand.

References

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2555).รายงานการสัมมนาทางวิชาการเรื่องรูปแบบการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

กุลธิดา ลิ้มเจริญและพระมหาหรรษา ธมมหาโส (2562) กระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อ

สันติภาพเชิงพุทธบูรณาการ, พระนครศรีอยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธิดาวัลย์ อุ่นกอง, (2560), รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของ

ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก,วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา

พระมหาสงกรานต์ เทวนนฺโท. (ม.ป.ป). การบริหารงานบุคคลตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของ

ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

พระธรรมปิฏก.(ป.อ.ปยุตโต).(2545). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สื่อตะวัน จำกัด.

อรนุช โขพิมพ์ เอกฉัท จารุเมธีชน ประยูร แสงใสและสุเทพ ปาลสาร. (2557). ภาวะผู้นำตาม

หลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น, วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาอนแก่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อรอนงค์ พรหมเดช,อโนทัย ประสาน,สุรพงศ์ เอื้อศิริพรฤทธิ์, (2561) การกระจายภาวะผู้นำ

ของผู้บริหารที่สัมพันธ์กับองค์การแห่งการเรียนรู้ สถานศึกษาสังกัดเทศบาลนคร

นครศรีธรรมราช, วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ปีที่ 13 ฉบับที่ 1.