การพัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำครอบครัว ในเขตอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

กมลทิพย์ จันทร์คำ
มณฑิชา รักศิลป์
นพรัตน์ ส่งเสริม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ  2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำครอบครัว 3) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ทัศนคติ  พฤติกรรม  ด้านการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ  (Action Research) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ (1) การวางแผน (Plan)  (2) การดำเนินงาน (Action) (3) การสังเกต (Observation) (4) การสะท้อนกลับ (Reflection) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มติดสังคม สังกัดชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์สุขภาพชุมคำข่า ตำบลสีวิเชียร อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เลือกสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 40 คน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการวิจัยจำนวน 15 คน (อาสาสมัครสาธารณสุขประจำครอบครัว ผู้แทนชมรมผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปความรู้ ทัศนคติพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ข้อมูลเชิงคุณภาพ สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมานทดสอบ Paired t-Test ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะสมองเสื่อม 3 อ. 2 ส. ลำล่องป้องกันป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้  ทัศนคติ  พฤติกรรมการป้องกันภาวะสมองเสื่อม สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P-value<0.05) ข้อเสนอแนะสามารถนำรูปแบบการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำครอบครัวไปปรับใช้และดำเนินงานในแต่ละบริบทของพื้นที่หรือการพัฒนารูปแบบกับกลุ่มเป้าหมายอื่น

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

มณฑิชา รักศิลป์, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

นพรัตน์ ส่งเสริม, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผูสูงอายุไทย. (2561). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2561:

กรุงเทพฯ :บริษัท พริ้นเทอรี่ จำกัด.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. (2562). ประชากรแยกตามเพศและกลุ่มอายุ

จังหวัดอุบลราชธานี : กระทรวจสาธารณสุข.

อาทิตยา สุวรรณ์. (2560). บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม.

วารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, ปีที่ 35 (ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2560).

หน้า6-15.

ธัญญารัตน์ อโนทัยสินทวี. (2557). รายงานการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเรื่อง

มาตรการการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ. โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ.

อภิญญา จีนานุรักษ์. (2557). การวิเคราะห์สถานการณ์การป้องกันภาวะสมองเสื่อมใน

ผู้สูงอายุตำบลหนองหอย อำเภอเมืองเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัย

เชียงใหม่.

คู่มืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำครอบครัว กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แนวทางการ

ดำเนินงานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำครอบครัว. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์เกษตร

แห่งประเทศไทย.

วัลลภา อันดารา, อุบลรัตน์ สิงหเสนีและปัทมา วงค์นิธิกุล. (2559). การศึกษาภาวะสมอง

เสื่อมความรู้เรื่องโรคและการป้องกันโรคสมองเสื่อมและข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุชมรมผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลตำรวจ วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ. ปีที่ 8 (ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2559).หน้า 23 – 33.

ศรุตยา หาวงษ์, วีณา เที่ยงธรรมและสุธรรม นันทมงคลชัย. (2560). ผลของโปรแกรมส่งเสริม

สุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว. วารสารพยาบาล สาธารณสุข, ปีที่ 31 (ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2560). หน้า 110-128

ณัฐรพี ใจงาน. (2561). รูปแบบการป้องกันภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในชุมชนเขต

ตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

Ebersole, P., Hess, P., &Luggen, S.A. (2504). Toward Healthy Aging. 6thed. USA

: Mosby.

Ferri, C.P., Prince, M., Brayne, C., Brodaty, H., Fratiglioni, L., Ganguli, M., &

Scazufca, M. (2005).Global prevalence of dementia: a Delphi consensus study. The Lancet Journal, 2112-2117.