การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมในเขตเทศบาลนครปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

พูมาลี วิชาคม
วัชราภรณ์ จันทนุกูล
ไพศาล พากเพียร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมและแนวทางการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมในเขตเทศบาลนครปากเซ  แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เก็บข้อมูลด้วยการสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 238 คนและสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 18 คน โดยใช้เครื่องมือคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมในเขตเทศบาลนครปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยภาพรวมระดับปัญหามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า จิตสำนึกในการจัดการขยะเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ควรแก้ไข ด้านความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ ควรให้ความรู้เกี่ยวกับขยะที่ย่อยสลายยากไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้านบทบาทหน่วยงานของรัฐ เทศบาลนครปากเซมีการจัดการขยะในเขตเทศบาลร่วมมือกับหน่วยงานและองค์กรอื่น 2) แนวทางการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการดำเนินการ ควรจัดหาถังขยะมาใช้ในครัวเรือน ด้านการติดตามและประเมินผล ควรมีการติดตามผลการรักษาความสะอาดบนถนนและทางเท้า ด้านการตัดสินใจ ควรมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายหรือทิศทางการจัดการ และด้านการวางแผน ควรมีส่วนร่วมในการประชุมเกี่ยวกับการจัดการขยะของเทศบาล ควรจัดวางถังแยกไว้ในตามเส้นทางสำคัญและต้องมีมาตรการที่เข้มงวดต่อการละเมิด ต้องสร้างจิตสำนึกและความรู้แก่กับนักเรียนด้านสิ่งแวดล้อม  หน่วยงานภาครัฐต้องเป็นผู้นำในการนำประชาชนให้มีส่วนร่วมในการกำจัดขยะเพื่อพัฒนาให้เทศบาลได้รับการเป็นเทศบาลสีขาว

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พูมาลี วิชาคม, Faculty of Humanities and Social Sciences, Ubon Ratchathani Rajabhat University

Faculty of Humanities and Social Sciences, Ubon Ratchathani Rajabhat University

วัชราภรณ์ จันทนุกูล, Faculty of Humanities and Social Sciences, Ubon Ratchathani Rajabhat University

Faculty of Humanities and Social Sciences, Ubon Ratchathani Rajabhat University

ไพศาล พากเพียร, , Faculty of Humanities and Social Sciences, Ubon Ratchathani Rajabhat University

, Faculty of Humanities and Social Sciences, Ubon Ratchathani Rajabhat University

References

ชนัดดา สุโพธิ์. (2557). แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยให้มีประสิทธิผลในเขตเทศบาล ตำบลแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยพะเยา.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

บุญธรรม วงศ์ศิริ. (2558). แนวทางการพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของประชาชนองค์การบริหารส่วนตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

บุญชม ศรีสะอาด.(2553). การวิจัยเบื้องต้น . พิมพลักษณ์, กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

โยธิน หนองซิว. (2559). แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนบ้านนาหลวง อำเภอสอง จังหวัดแพร่. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยพะเยา.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, กรม.(2554). คู่มือการจัดการขยะมูลฝอย โดยชุมชน. ปทุมธานี : กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

อดิศักดิ์ ทองไข่มุกต์. (2546). การจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล. ปทุมธานี: ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.

สัมภาษณ์. สันติสุก ออแก้วเตโซ. (2561). การจัดการขยะ. นครปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

สัมภาษณ์. ไก่ทอง สุวันดี. (2561). การจัดการขยะ. นครปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.

สัมภาษณ์. คำแพง สีอาลุน. (2561). การจัดการขยะ. นครปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.