การพัฒนาความร่วมมือของผู้ประกอบการต่อการชำระภาษีให้กับอากรแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

สุกหวัน สีสุลาด
วัชาภรณ์ จันทนุกูล
ไพศาล พากเพียร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สภาพปัญหาการชำระภาษีของผู้ประกอบการให้กับอากรแขวงจำปาสัก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และแนวทางการพัฒนาความร่วมมือของผู้ประกอบการต่อการชำระภาษีให้กับอากรแขวงจำปาสัก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 361 คน, กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 15 คน. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์. วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า  1) สภาพปัญหาในการชำระภาษีของผู้ประกอบการ  โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง, ด้านระบบการบริหารงาน มีป้ายบอกขั้นตอนและหลักฐานในการชำระภาษี, ด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก สถานที่เหมาะสมและสะดวกในการบริการประชาชน, ด้านความรู้เกี่ยวกับภาษี ประชาชนทราบและเข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับการชำระภาษี และด้านจิตสำนึกในการชำระภาษี ประชาชนเต็มใจชำระภาษีแก่แขวงจำปาสัก; 2) แนวทางการพัฒนาความร่วมมือของผู้ประกอบการในการชำระภาษีแก่อากร ควรส่งเสริมความตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตน ทัศนคติในการบริการประชาชน การเตรียมความพร้อมศักยภาพการบริการ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบและกฎหมายด้านภาษี ความเชื่อมั่นและไว้วางใจกันในองค์กร ความรู้การชำระภาษีออนไลน์ การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการแจ้งข้อมูลข่าวสาร การใช้กฎระเบียบกฎหมายอย่างเด็ดขาด การสร้างจิตสำนึกในหน้าที่การพัฒนาการบริการที่น่าพอใจแก่ประชาชน ปรับปรุงระบบการให้บริการสาธารณะในการจัดเก็บภาษีให้โปร่งใส ควรพัฒนาระบบการชำระภาษีผ่านแอพพลิเคชั่น และพัฒนาบุคลากรให้มีจรรยาบรรณสูงเป็นเอกภาพทั่วประเทศ

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

วัชาภรณ์ จันทนุกูล, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

Faculty of Humanities and Social Sciences, Ubon Ratchathani Rajabhat University

ไพศาล พากเพียร, สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา   คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

References

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
พันธนันท์ กิจพ่วงสุวรรณ. (2554). ความรู้ความเข้าใจการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตความรับผิดชอบของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร
มธุรา เกรียงโกมล. (2555). การเปรียบเทียบการเลือกใช้บริการชำระภาษีรถประจำปีของประชาชนระหว่างวิธีปกติและวิธีเลื่อนล้อต่อภาษี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
ลักษณา ชาญชิตปรีชา. (2554). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการชำระภาษีของสำนักการคลังเทศบาลเมืองสกลนคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2548). การบริหารภาษีอากรและรายได้ของรัฐ : หลักการและแนวทาง ปฏิบัติสำหรับนักรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สภาแห่งชาติ. (2554). มติตกลงเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยส่วยสาอากร. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.
สันติสุก ออแก้วเตโช. (2561). การจัดเก็บภาษีของอากรแขวงจำปาสัก. แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, สัมภาษณ์ 25 พฤศจิกายน 2561.