รูปแบบการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

พระสุขเจีย อคฺคสุมโน
เสฐียร ทั่งทองมะดัน
สิรภพ สวนดง

บทคัดย่อ

หลักการศึกษาสำคัญของโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5  คือ เพื่อศึกษาการรักษาศีล 5 ในพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหา อุปสรรค และจุดแข็งของชุมชนจากโครงการหมู่บ้านศีล 5 ของชุมชนนครราชสีมา  เพื่อศึกษารูปแบบการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของประชาชนจังหวัดนครราชสีมา


             สภาพปัญหาสำคัญของ“หมู่บ้านรักษาศีล 5” ที่ผ่านมาได้พบกับอุปสรรคในเรื่องการจัดการ การสร้างนวัตกรรมในการจัดการความรู้ และการจัดการส่งเสริมอย่างเป็นรูปธรรมทำให้บุคคลไม่สามารถเข้าถึงโรงการและแก่นแท้ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้ได้ข้อมูลนำมาปรับใช้และมาอธิบายพฤติกรรมการส่งเสริมการรักษาศีลของคนในชุมชนมากยิ่งขึ้น สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ประกอบการจัดทำแผนงาน โครงการหรือกิจกรรมเกี่ยวกับ การส่งเสริมให้คนในสังคมให้เกิดมีความสงบสันติสุข เพื่อเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคน ในชาติเพื่อเป็นแนวทางของการสร้างความมั่นคง มีความสามัคคี ลดปัญหาความขัดแย้ง สร้างความรักกันระหว่างประชาชนในประเทศต่อไป


          แนวทางการสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันของชุมชนภายใต้โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 1) ชุมชนจะต้องสร้างเองชุมชนต้องมีผู้นำที่ตั้งตนอยู่ในศีล 5 2) การมีกฎกติกาและวิธีการเคารพกฎกติกา 3) การอยู่ร่วมกันโดยใช้หลักความเมตตา 4) ไม่ตามกระแสวัตถุนิยมคือมีความพอเพียงความพอใจในสิ่งที่มีอยู่ 5) มีความพร้อมมีความสามัคคีของหมู่คณะ 3. การเสริมสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันของชุมชนในสังคมไทยทั้ง 4 ภาค มีความสอดคล้องกันในมติใช้ศีล 5 เป็นพื้นฐานในการสร้างกิจกรรมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมดีของคนในชุมชน

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

เสฐียร ทั่งทองมะดัน, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ประเทศไทย

Mahaculalongkornrajavidyalaya University, Thailand

สิรภพ สวนดง, Mahaculalongkornrajavidyalaya University, Thailand

Mahaculalongkornrajavidyalaya University, Thailand

References

คสช., (2558).คู่มือแนวทางการดำเนินงานตามโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้ หลักธรรมธำรงพระพุทธศาสนา“หมู่บ้านรักษาศีล 5”ระยะที่ 3 (ระยะยาว), กรุงเทพมหานคร : สำนักงานโครงการสร้างความ ปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้ หลักธรรมทารงพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษา ศีล 5”.
พระครูภาวนาโสภิต (บุญรัตน์ เมืองวงศ์), (2553).“การบริหารการเผยแผ่พระพุทธศาสนาใน ล้านนา”.ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
พระครูสิริปริยัตยานุศาสก์ (ดวงจันทร์ คุตฺตสีโล). (2559).คนมีศีล ดินมีปุ๋ย. เชียงใหม่ : บริษัทนันทพันธ์ปริ้นติ้งจำกัด.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539).พระไตรปิฏกภาษาไทย. ฉบับ มหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
วงศกร เพิ่มผล. (2555)“ศีล 5 มิติอารยธรรมสากล”. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.