การบริหารเชิงพุทธสำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการบริหารเชิงพุทธสำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาตามบริบทโรงเรียนที่จัดการศึกษาลักษณะพิเศษให้ทราบถึงหลักพุทธธรรมเพื่อให้เกิดผลการบริหารเชิงพุทธและการบริหารเชิงพุทธสำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาคือผู้บริหารมีการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมทั้งในการคิด การวางแผน การปฏิบัติตามแผน ในการบริหารงาน ต้องมีกรอบมีรูปแบบที่ชัดเจนไม่ควรให้เป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น ถ้าบุคลากรในโรงเรียนตั้งแต่หัวหน้า ลูกน้อง ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติได้ตามหลักคำสอนที่นำมาใช้จะเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมของคนทั่วไปอย่างไม่มีวันเสื่อมและจะได้เป็นแบบอย่างแก่โรงเรียนอื่นๆอีกด้วย ด้านการบริหารของผู้อำนวยการ หรือรองผู้อำนวยการโรงเรียนในฐานะผู้นำ ต้องประยุกต์หลักปาปณิกธรรมมาใช้เพื่อความสำเร็จ ทำให้ประสบความสำเร็จในการครองตน ครองคน และครองงาน ได้แก่ 1.จักขุมา หมายถึง มีปัญญามองการณ์ไกล เช่น ถ้าเป็นพ่อค้าหรือนักบริหารธุรกิจ ต้องรู้ว่าสินค้าที่ไหนได้ราคาถูก แล้วนำไปขายที่ไหนจึงได้ราคาแพง ในสมัยนี้ต้องรู้ว่าหุ้นจะขึ้นหรือจะตก ถ้าเป็นนักบริหารทั่วไปต้องสามารถวางแผนและฉลาดในการใช้คน คุณลักษณะข้อนี้คือ มีความชำนาญในการใช้ความคิด 2. วิธูโร หมายถึง จัดการธุระได้ดี มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น พ่อค้าเพชรต้องดูออกว่าเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม แพทย์หัวหน้าคณะผ่าตัดต้องเชี่ยวชาญการผ่าตัด คุณลักษณะข้อนี้คือ ความชำนาญด้านเทคนิค 3.นิสสยสัมปันโน หมายถึง พึ่งพาอาศัยคนอื่นได้ เพราะเป็นคนมนุษยสัมพันธ์ดี เช่น พ่อค้าเดินทางไปค้าขายต่างเมืองก็มีเพื่อนพ่อค้าในเมืองนั้นๆให้ที่พักอาศัยหรือให้กู้ยืมเงิน เพราะมีเครดิตดี นักบริหารที่ดีต้องผูกใจคนไว้ได้ คุณลักษณะข้อนี้สำคัญมาก“นกไม่มีขน คนไม่มีเพื่อน ขึ้นสู่ที่สูงไม่ได้”คือ ความชำนาญด้านมนุษยสัมพันธ์
Article Details
References
กนก แสนประเสริฐ. (2559). เอกสารประกอบการบรรยายพิเศษ : การประชุมผู้บริหาร
โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาทั่วประเทศ. วัดไร่ขิง จ.นครปฐม.
กองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2557). คู่มือปฏิบัติงานโรงเรียน
พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
ธงชัย สันติวงษ์. (2528). หลักการบริหาร : คิดและทำอย่างผู้จัดการใหญ่. กรุงเทพฯ: เอเชียเพรส.
______. (2550) .การบริหารงานบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช
นิภา แก้วศรีงาม.(2550) จิตวิทยาองค์การ. กรุงเทพฯ : ภาควิชาจิตวิทยาคณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคาแหง.
พระไตรปิฎก. พระสุตตันตปิฎก. เล่มที่ 6 มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์. โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
พระธรรมโกศาจารย์. (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2554). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมพงษ์ เกษมสิน. (2555). หลักการบริหารและการจัดการ ที่น่ารู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
เกษมสุวรรณ.
สมหวัง วิทยาปัญญานนท์. (2531). บริหารเชิงพุทธแนวท่านพุทธทาส. กรุงเทพฯ:สุขภาพใจ.